ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

สมพงษ์ ปานเกล้า
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ
รุจิร์ ภู่สาระ
พีรยศ ราฮีมมูลา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของนโยบายการจัดการ ศึกษา เพื่อความมั่นคงแห่งชาติในจังหวัดชายแดนภาคใต้และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของ นโยบายการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1)กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเลือกโดยวิธีแบบชั้นภูมิ มาจากผู้บริหารสถานศึกษาและประธานกรรมการ สถานศึกษา จำนวน 330 คน (2) กลุ่มผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ที่ได้มาจากผู้แทนหน่วยงานทางการศึกษา ผู้แทนองค์คณะบุคคลทางการศึกษา และผู้แทนหน่วยงานความมั่นคง ทั้งในและนอกระบบราชการ จำนวน 51คน ผลการวิจัย พบว่า 1). ปัจจัยด้านวิธีการทางการเมืองและปัจจัยด้านโครงสร้างทางสังคม มีความ สัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง แห่งชาติ แต่ปัจจัยด้านยุทธศาสตร์ การบริหาร ไม่มีความสัมพันธ์กันกับปัจจัยใดๆ 2). สมการพยากรณ์ ประสิทธิผลของนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับปัจจัยต่างๆ นำเสนอได้ดังนี้ (ประสิทธิผลของนโยบาย) = 1.152 + 0.278 วิธีการทางการเมือง (แบบบูรณาการ) + 0.209 โครงสร้างทางสังคม (ประวัติศาสตร์) + 0.170 โครงสร้างทางสังคม (วัฒนธรรม) (ประสิทธิผลของ นโยบาย) = 0.384 วิธีการทางการเมือง (แบบบูรณาการ) + 0.280 โครงสร้างทางสังคม (ประวัติศาสตร์) + 0.196 โครงสร้างทางสังคม (วัฒนธรรม)

 

Factors Influencing the Effectiveness of National Security Educational Policy in the Southern Border Provinces

In this dissertation, the researcher examines factors influencing the effectiveness of national security educational policy in the southern border provinces. The researcher also frames a predictive equation governing the effectiveness of national security educational policy. In addition, the researcher recommends attention be paid to strategic issues affecting educational policy in the southern border provinces.

The sample population consisted of two groups: (1) respondents to a questionnaire selected by the method of stratified random sampling from a group of 330 school administrators and chairpersons of educational institution committee; (2) Fifty-one focus group attendees selected from representatives of educational units, educational personnel, and security units both in the bureaucracy and outside. Seventeen interviewees for in-depth interviews were selected from educational administrators from the Ministry of Education, the southern border provinces, and members of the Senate. Findings are as follows: 1) The factors of political methods and social structure exhibited mutual correlation and were correlated with the effectiveness of national security educational policy. However, the factor of administrative strategies was found not to be correlated with the other factors. 2) The predictive equation for the effectiveness of national security educational policy in the southern border provinces in concert with other factors is as follows: (policy effectiveness) = 1.152 + 0.278 political methods (integrated) + 0.209 social structure (history) + 0.170 social structure (culture). (policy effectiveness) = 0.384 political methods (integrated) + 0.280 social structure (history) + 0.196 social structure (culture).

Article Details

How to Cite
ปานเกล้า ส., ธาราศรีสุทธิ ภ., ภู่สาระ ร., & ราฮีมมูลา พ. (2016). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. Ph.D. In Social Sciences Journal, 4(2), 52–68. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/71305
Section
Research Article