รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

Main Article Content

ดารารัตน์ คำอ่วม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษา ภาวะผู้นำด้านการเรียนการสอนของครู และการเพิ่มพลังอำนาจของครู (2) วิเคราะห์ปัจจัยภาวะผู้นำ (3) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ (4)ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ และ (5) ทดลอง และการศึกษา ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพลังอำนาจของครูในโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดกรมส่ง เสริมการปกครองท้องถิ่น(ภาคกลาง) ประชากร จำนวน 25,089 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, การ เก็บข้อมูลภาวะผู้นำด้านการเรียนการสอนกับการเพิ่มพลังอำนาจของครูวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยหลักในการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพลังอำนาจของครูประกอบ ด้วย 2 ปัจจัย คือ (1) ภาวะผู้นำด้านการเรียนการสอน มี 6 ปัจจัยย่อย และ (2) การเพิ่มพลังอำนาจของ ครูมี 11 ปัจจัยย่อย เมื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง พบว่า สามารถทำให้ครูมีภาวะผู้นำด้าน การเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพลังอำนาจของครูสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

A Model of Instructional Leadership Development for Increasing Teacher’s Empowerment in Primary Schools under the Local Administration Organization

The purposes of this quantitative and qualitative research were as follows (1) to study educational leadership, (2) to analyze the factors of teaching leadership, (3) to build a model of leadership development, (4) to evaluate the development model of leadership and (5) to make trials and study the results of the model of leadership for learning and teaching to enhance the empowerment of the teachers. Population of 25, 089 teachers were used. Samples included teachers under the Department of Local Administration (Central) of 400 persons were used for data analysis. Statistic analysis were used: frequency distribution, percentage, mean and standard deviation, t- test, Data gathering Instructional Leadership and Teacher’s Empowerment and Pearson’s Correlation Analysis. The results of this research showed of two factors: 1 study educational leadership for learning and teaching and empowering of teachers included the six subfactors and 2 increasing the power of the teachers have 11 sub-factors. When bringing the model to make a trial in a real situation which can develop teachers with the instructional leadership to increase teachers higher powers statistically significant at the .01 level.

Article Details

How to Cite
คำอ่วม ด. (2016). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. Ph.D. In Social Sciences Journal, 4(2), 94–108. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/71311
Section
Research Article