การขัดเกลาทางสังคมของครอบครัวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนของวัยรุ่นตอนต้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง

Main Article Content

สุทัศน์ บุญโฉม

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขัดเกลาทางสังคมและความสัมพันธ์ในครอบครัวของ วัยรุ่นตอนต้น รวมทั้งผลกระทบและแนวทางแก้ไข และ เพื่อศึกษาว่า การขัดเกลาทางสังคมของครอบครัว มีผลทำให้วัยรุ่นตอนต้นมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนใช้การวิจัยแบบผสม ที่เน้นเชิงคุณภาพเป็นหลักโดย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข่าวสำคัญ (key-informant) ประกอบด้วย นักเรียนกลุ่มเสี่ยง จาก สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 10 คน จากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 34 คน บิดามารดาหรือ ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 20 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการให้รหัส (coding) ที่วางรากฐานโดยทฤษฎีฐานราก ส่วนเชิงปริมาณได้สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 243 คน และบิดามารดาหรือปกครอง 217 คน เพื่อสนับสนุนเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าการขัดเกลา ทางสังคมของครอบครัว มี 4 แบบ คือ 1) การไม่ทำตัวเป็นแบบอย่าง 2) การอบรมสั่งสอนบุตรในเวลา และโอกาสไม่เหมาะสม 3) การห่างเหินไม่แสดงความรัก กอดหอมบุตรเพราะเชื่อว่าบุตรจะได้ใจ และ 4) ไม่สอนทักษะชีวิตให้บุตรพ่อแม่วัยรุ่นอบรมสั่งสอนบุตรไม่เป็น ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว พบว่า วัยรุ่นตอนต้นที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน มาจากครอบครัวที่มีทั้งบิดาและมารดา มากกว่าที่บิดามารดาแยก ทางกัน บิดามารดาสื่อสารกับบุตรวัยรุ่นเป็นเชิงลบ เช่น การพูดสบประมาท เปรียบเทียบบุตรกับคนอื่น และมีความคิดเห็นแตกต่างจากบุตร ด้านการปกครองดูแลบุตร (Parenting Style ) มี 3 แบบ คือ แบบไม่ ไว้ใจ ควบคุม บังคับ แบบตามใจ และแบบไม่บังคับและไม่ตามใจ แต่ทั้ง 3 แบบจะไม่เสถียรอาจเปลี่ยนมา เป็น แบบกึ่งบังคับกึ่งตามใจ

 

FAMILY SOCIALIZATION AND DEVIANT BEHAVIOR OF EARLY ADOLESCENTS IN THE CENTRAL NORTH EASTERN REGION

In this dissertation, the researcher investigates the socialization and familial relationships of early adolescents, as well as the effects and ways to solve problems encountered in this connection. The researcher also examines family socialization insofar as it affects the deviant behaviors of early adolescents. The researcher employed a mixed methodology, though stress was placed on qualitative research. The researcher conducted in-depth interviews with key informants consisting of currently at-risk students at the Juvenile Observation and Protection Center, thirty-four students from secondary schools, twenty parents or guardians of at-risk students, and ten experts. Using a qualitative approach, data were subsequently analyzed and interpreted using the technique of coding as an application of grounded theory methodology. In the quantitative research phase, the researcher surveyed the opinions of 243 at-risk students and 217 parents or guardians.

Findings are as follows: The are four types of family socialization: (1) serving as a role model; (2) admonishing children at times and occasions that are inappropriate; (3) being distant and not showing love for children believing that doing so will spoil them; and (4) not teaching life skills to children, especially when it comes to young parents who do not have the ability to train children.

In regard to familial relationship, it was found that more frequently early adolescents whose behaviors were deviant came from families in which parents lived together rather than families in which the parents lived separately. Parental communication with these early adolescents was negative as exemplified by confrontational talk, drawing invidious comparisons with other children, and parents expressing opinions that differed from those of their children. Concerning parenting styles, there are three styles: (1) authoritarian; (2) permissive; and (3) authoritative. All of these three styles may not be constantly maintained and can shift into semi-authoritarian and semi-permissive styles.

Article Details

How to Cite
บุญโฉม ส. (2016). การขัดเกลาทางสังคมของครอบครัวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนของวัยรุ่นตอนต้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. Ph.D. In Social Sciences Journal, 4(1), 91–109. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/71390
Section
Research Article