รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย

Main Article Content

วิภาดา ศรีจอมขวัญ

Abstract

ผลการวิจัย สรุปได้ ดังนี้ 1.) สภาพการบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูอาชีวศึกษา ร้อยละ 90 ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย ควรมีลักษณะดังนี้ รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทยที่เป็นมาตรฐาน มีกระบวนการพัฒนาสมรรถนะครู อาชีวศึกษาที่เป็นระบบ ด้วยการมีส่วนร่วมของครูอาชีวศึกษาในสถานศึกษา มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ ในการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้น และมีเป้าหมายชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร มีการ ทดสอบและมีประเมินผลโดยใช้ระบบสารสนเทศ และมีคณะกรรมการจากฝ่ายต่างๆทั้ง 4 ฝ่ายในสถาน ศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการอาชีวศึกษา 2555 ด้านการประกันภายใน มาตรฐานที่ 3 (10) 2). ผลการสร้างรูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทยด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management -RBM) พบว่า รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย คำชี้แจง บทนำ หลักการ วัตถุประสงค์ ความสำคัญ ของการบริหารฯ ขอบข่ายของรูปแบบฯ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารฯ ส่วนที่ 2 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ บริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาในสถานศึกษาประเภทต่างๆในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ อาชีวศึกษา โดยจัดทำเป็นระบบ และมีขั้นตอน ประกอบด้วย การบริหารการพัฒนาสมรรถนะครู อาชีวศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา 2555 ด้านการประกันภายในสถานศึกษา และส่วนที่ 3 เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพแลประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา และ 3.) ผลการวิเคราะห์การประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบบริหารการ พัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย ด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management -RBM) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง มีความเห็นต่อความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของ รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และมีส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน เท่ากับ 0.398 ซึ่งมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

An A dministrative Model for Thai Vocational Competency Based Staff Development

In this dissertation, the researcher investigates in respect to the administration model under consideration, recommendations from 90 percent of the directors of educational institutions and vocational teachers were as follows: 1.)Explanation, Introduction; Principles; Objectives: Importance of Administration; Scope of the Model; and Guidelines for Administration. 2.) In this part, guidelines for the administration of the competency development for vocational teachers in different types of educational institutions under the jurisdiction of the Office of Vocational Education Commission were presented. The guidelines were organized systematically and with steps governing the administration of the competency development of vocational teachers in accordance with the statement of Vocational Educational Standards 2012 by reference to Quality Assurance Standard 3 and indicator no. 10. Quality Assurance Standard 3 states the level of quality required in developing the competency of teachers and educational personnel; the making of plans for the development administration; checks and follow-ups on administration; evaluations of administration; the making of annual reports; and the continuous development of educational quality. The external environment includes society, the economy and politics. The internal environment includes policy, law, among other factors. 3.) The evaluation of the practical feasibility of the model made use of a result-based management (RBM) approach developed by the researcher with the following results: Experts and those concerned were of the opinion that the model was practically feasible in an overall picture at a high level with a mean of 4.33. The standard deviation was 0.455. The evaluation of those concerned was at a high level with the mean at 4.21 and the standard deviation at 0.398, which was in the same direction of opinion.

Article Details

How to Cite
ศรีจอมขวัญ ว. (2016). รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย. Ph.D. In Social Sciences Journal, 3(3), 68–81. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/71406
Section
Research Article