การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าว ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

พิชญาภัค จันทร์นิยมาธรณ์
วนารัตน์ กรอิสรานุกูล

Abstract

การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าว ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของสื่อการเรียนรู้เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) กับเกษตรกร และศึกษาการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นการนำสื่อการเรียนรู้เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวเข้าสู่กระบวนการเรียนผ่านอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นให้กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่เป็นสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 222 คน ได้ทดลองเรียนจริง วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เรียนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ


จากผลการศึกษาความเหมาะสมของสื่อการเรียนรู้ จากความคิดเห็นของเกษตรกร 4 ประเด็น คือ ด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง ด้านภาพและภาษา ด้านตัวอักษร สี และลักษณะของแบบทดสอบ พบว่า ภาพและภาษาของสื่อมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเกษตรกร พบว่า การใช้งานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประเด็น“รูปแบบหน้าจอของบทเรียนมีความน่าสนใจ” มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่าคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างสูง (p<0.01) โดยความสัมพันธ์ของเพศที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อคะแนนสอบก่อนและหลังเรียน ในขณะที่ความสัมพันธ์ของอายุที่แตกต่างกันมีผลต่อคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างสูง (p<0.01) แต่กลับไม่มีผลต่อคะแนนสอบหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


 


FARMERS LEARNING ON THE INCREASING EFFICIENCY AND REDUCING COST OF RICE PRODUCTION THROUGH ELECTRONIC LEARNING: THE CASE OF FARMERS IN SUPHANBURI PROVINCE


Farmers learning on the increasing efficiency and reducing cost of rice production through electronic learning: The case of famers in Suphanburi province. The purpose of this paper are (1) study of the effective of electronic instruction media for farmer and (2) famer’s learning through electronic learning. This research divided into two main steps: (1) Install the production instructionmedia into an electronic learning system. (2) Performed the 222 farmer to study the electronic learning system. Each Farmer had complete pre training and post training evaluation and evaluated the effectiveness of electronic instruction media by evaluation form and focus group method.


The media production presentation had evaluated by farmers for 4 subjects: (1) Content and continuity (2) Visual and language (3) Spelling, colors, and sounds and (4) training evaluation. The research found the most satisfaction is on the visual effects and language (high level). The famer’s learning through electronic learning had evaluated on the electronic applications and the evaluation score. The research found the most satisfaction is on the interesting screen. Overall, the evaluation scores were significantly higher on the post evaluations compared to the pre evaluations. Gender did not have an effect on the pre evaluations and post evaluations. The age differentiation did have an effect on the pre evaluation; however, it did not on the post evaluation.

Article Details

How to Cite
จันทร์นิยมาธรณ์ พ., & กรอิสรานุกูล ว. (2017). การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าว ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี. Ph.D. In Social Sciences Journal, 7(3), 85–97. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/72168
Section
Research Article