OPPORTUNITIES AND CHALLENGES IN SOUTH-SOUTH COOPERATION: A CRITICAL ASSESSMENT OF CHINA-NIGERIA BILATERAL RELATIONS ON ECONOMIC DEVELOPMENT

Main Article Content

Geoffrey Ijomah David Chima
Tipparat Bubpasiri
Maurice Yolles
Peter W. Preston

Abstract

This Research is meant to match the perceived interests of China against the real motives of her engagements in Nigeria, by investigating how the Chinese economic activities have impacted on the socio-economic lives of Nigerians. In doing this, it started with examination of China’s trade and invessment to unveil their impacts as it concerns dumping of substandard goods, infrastructural development, technology transfer, labour/human rights and the overall poverty alleviation in the country. Using a qualitative approach that is anchored on collection of data from secondary and primary built on structured interviews, the study argued that China’s trade and investment provided only three short term benefits, while the rest are negatives in both long and short term benefits.  This situation implies that Marrakech Declaration and South-South affinity in this era of integrated global economy is no more attainable as it is a geopolitical tool in the hands of few. Notwithstanding, there are numerous windows of opportunities for Nigeria to exploit through leadership, the paper therefore, recommended that Nigeria should put in place and effectively implement policies and measures that are both preventive and offensive to overcome its state of dependency to enable the country gain the deserved benefits from her relations with other countries.

 

โอกาสและความท้าทายในความร่วมมือในภูมิภาคใต้-ใต้: การประเมินความคิดเห็น ความร่วมมือแบบทวิการประเมินความคิดเห็น ความร่วมมือแบบทวิภาคีในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างจีนกับไนจีเรีย

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ระบุและตรวจสอบโอกาสและความท้าทายโดยธรรมชาติ ก่อนที่ไนจีเรียจะมีความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งประกาศไว้ในปฏิญญามาราเค็ค (2) วิเคราะห์ผลกระทบสำคัญของปฏิญญามอราเค็ค (มาตรา 8,14 และ 24) ที่มีต่อความสัมพันธ์แบบทวิภาคีในทางเศรษฐกิจระหว่างไนจีเรียและจีน และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศไนจีเรีย และ (3) เสนอแนะในประเด็นที่ทำให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคีจีน-ไนจีเรีย ให้มีความเข้มแข็งขึ้นบนพื้นฐานความต้องการและความสนใจของทั้งสองฝ่ายที่เกิดขึ้นในปีต่อๆ ไป กรอบแนวคิดทางทฤษฎี ใช้แนวคิดการเคลื่อนตัวของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์มาอธิบายถึงการเจริญเติบโตด้านการค้า และการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งก็สามารถประยุกต์ทฤษฎีได้อย่างอิสระ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการทดสอบ วิเคราะห์และอธิบายความถึงผลของความเจริญเติบโตทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ ซึ่งก็ปรากฏออกมาอย่างไม่สมดุลและมักจะสมประโยชน์แก่ฝ่ายจีนแต่ด้านเดียว อันเนื่องมาจากความสามารถในการพัฒนาที่แตกต่างกันระหว่างสองประเทศ ระเบียบวิธีวิจัย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า (1) ประเทศไนจีเรียเป็นประเทศซึ่งขึ้นตรงต่อจีนเป็นอย่างมาก ในการสร้างความยั่งยืนผ่านการทำการค้า การลงทุน เงินกู้ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มากกว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และทรัพยากรธรรมชาติอันสมบูรณ์ที่เป็นของไนจีเรียเอง และ (2) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคีระหว่างจีน-ไนจีเรีย แทบจะไม่มีความหมายเลยต่อประสิทธิภาพการพัฒนาของประเทศไนจีเรีย ด้วยเพราะผลประโยชน์มากมายเกิดแก่ประเทศจีนมากกว่าตกอยู่กับไนจีเรียในสาระสำคัญของ"6 ข้อของการพัฒนาเศรษฐกิจ" การค้าและการลงทุนของจีนดำเนินการแค่ระยะสั้นๆ 3 ระยะใน 3 ด้านเท่านั้น ขณะที่ด้านอื่นๆกลายเป็นผลด้านลบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งสภาพการณ์เช่นนี้อาจกล่าวได้ว่าปฏิญญามาราเค็คและความสัมพันธ์ในภูมิภาคใต้-ใต้ เป็นเพียงเล่ห์กลลวง เป็นประเด็นการเมืองและชั้นเชิงทางการทูต ซึ่งไม่เกิดผลในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างแท้จริง และกลายเป็นการสร้างการขยายพื้นที่ทางประเทศที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งกว่าเท่านั้น

Article Details

How to Cite
Chima, G. I. D., Bubpasiri, T., Yolles, M., & Preston, P. W. (2016). OPPORTUNITIES AND CHALLENGES IN SOUTH-SOUTH COOPERATION: A CRITICAL ASSESSMENT OF CHINA-NIGERIA BILATERAL RELATIONS ON ECONOMIC DEVELOPMENT. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(3), 210–230. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/73937
Section
Research Article