ปัจจัยการบริหารจัดการกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

รังสรรค์ อินทน์จันทน์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร และ (2) เสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยรวบรวมข้อมูลจาก (1) ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับกองทุนแม่ของแผ่นดินในระดับนโยบาย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ และ (2) ผู้ดำเนินงานของกองทุนแม่ของแผ่นดินระดับพื้นที่ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


1. ปัจจัยการบริหารจัดการกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร ตามแนวคิดปัจจัยการบริหารแบบ 7’s ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้าน shared values รองลงมาตามลำดับคือ ด้าน style ด้าน staff ด้าน skill ด้าน structure ด้าน system และมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้าน strategy และผลการศึกษาเชิงคุณภาพที่สอดคล้องกับด้าน shared values พบว่า ประธาน คณะกรรมการ และสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดินมีความเชื่อ และอุดมการณ์ร่วมกันในหลักการกองทุนแม่ของแผ่นดิน รวมถึงสนับสนุนให้คณะกรรมการมีพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน และสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อสนองต่อพระราชปณิธานในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน


2. แนวทางการบริหารจัดการเบื้องต้นกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาครคือ (1) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน (2) การปราบปรามเชิงรุก (3) การป้องปรามในพื้นที่ (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ชุมชน (5) การพัฒนาศักยภาพ (6) การปรับปรุงระบบงาน (7) การประชาสัมพันธ์ (8) การบูรณาการเพื่อขยายผล และ (9) การกำหนดตัวชี้วัด

Article Details

How to Cite
อินทน์จันทน์ ร. (2018). ปัจจัยการบริหารจัดการกองทุนแม่ของแผ่นดินในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(1), 203–218. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/74330
บท
บทความวิจัย

References

Barling, J., Weber, T., & Kelloway E. K. (1996). Effects of transformational leadership training on attitudinal and financial. Journal of Applied Psychology, 81(6), 824-832.

Bass, B. M., & Riggio, R. E. (2006). Transformational leadership. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Certo, S. C. (2000). Modern management. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Community Development Office in Smut Sakhon. (2016). The results of the operation: Fiscal Year 2016. Samut Sakhon: Author. [In Thai]

Injun, S. (2012). Development of innovation management to raise OTOP Handicraft Group, Samut Sakhon province. Siam Academic Review,13(20), 141-154.[In Thai]

LaFasto, F., & Larson, C. (2001). When teams work best: 6,000 team members and leaders tell what it takes to succeed. Thousand Oaks, CA: Sage.

Prime Minister’s Office. (2011). Government Gazette. Retrieved October1, 2015, from www.ratchakitcha.soc.go.th [In Thai]

Trakarnrerk, T. (2015). A management for efficiency development prototype in narcotics abuse prevention and supppression of provincial police region 7. Ph.D. dissertation management, Siam University. [In Thai]

Waterman, Jr., Robert H., Peters, Thomas J., & Julien, R. P. (1980). Structure is not organization. Business Horizons, 23(3), 14-26.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.