การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของ โรงเรียนประชานิเวศน์ที่ได้รับการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Language Learning) กับ การสอนภาษาโดยใช้ท่าทาง (Total Physical Response)

Main Article Content

สุพจน์ ไทยสุริยะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษและความพึงใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนการสอนแบบร่วมมือ กับการสอนภาษาโดยใช้ท่าทาง

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนประชานิเวศน์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 64 คน มาจาก 2 ห้องเรียน ซึ่งมาจากการนำคะแนนสอบกลาง ภาคเรียนที่ 2 มาหาค่าเฉลี่ยที่มีความใกล้เคียงกันจากนั้นใช้การสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลาก เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 32 คนสอนโดยใช้การสอนภาษาโดยใช้ท่าทาง  และกลุ่มควบคุมสอนจำนวน 32 คนสอนโดยการสอนแบบร่วมมือ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มทดลอง เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้ท่าทาง ส่วน แผนการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มควบคุม เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการสอนแบบร่วมมือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนต่อกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษโดยการเรียนการสอนแบบร่วมมือ กับการสอนภาษาโดยใช้ท่าทาง สถิติที่ใช้ในการรวบรวม โดยการหาค่า Independent sample Test, ค่าเฉลี่ย, และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าความยากง่าย, ค่าอำนาจจำแนก KR20 ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า การเปรียบเทียบสอนภาษาอังกฤษโดยใช้ท่าทาง สูงกว่าการสอนแบบร่วมมือ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สูงกว่าการเรียนการสอนแบบร่วมมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

 

A COMPARISON OF ENGLISH LEARNING ACHIEVEMENT OF GRADE THREE STUDENT TEACHING BY COOPERATIVE LANGUAGE LEARNING AND TOTAL PHYSICAL RESPONSE METHOD

The purpose of this study is to compare the outcome of English Learning taught by Cooperative Language Learning and Total Physical Response and for grade three students.

The sample is the student in grade 3 from Prachanivej Primary School, Bangkok in Academic Year 2/2016. The sample consists of 64 students from 2 classes which are based on random sampling by way of a lottery defined an experimental group and a controlled group as follows; the experimental group of 32 students having Total Physical Response method and a controlled group of 32 students having Cooperative Language Learning method.

The instruments are, (1) the lesson plan which is divided into two methods (2) the post-test (3) the evaluation form for teaching with Cooperative Language Learning and Total Physical Response method. The finding shows that teaching with Total Physical Response gain the learning outcome greater than teaching by Cooperative Language Learning method in statistically significant with 0.05.

Article Details

How to Cite
ไทยสุริยะ ส. (2017). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของ โรงเรียนประชานิเวศน์ที่ได้รับการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Language Learning) กับ การสอนภาษาโดยใช้ท่าทาง (Total Physical Response). Ph.D. In Social Sciences Journal, 7(1), 177–189. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/78379
Section
Research Article