การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

วลีรักษ์ สิทธิสม
รวีวรรณ ชินะตระกูล
งามทิพย์ วิมลเกษม
กฤช สินธนะกูล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและประเมินระบบการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพในการทำวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และ (3) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมอาจารย์ในการเขียนบทความวิจัยเพื่อการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ ประชากรที่ใช้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 40 แห่ง จำนวน 15,252 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan (1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 377 คน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประชุมกลุ่มย่อย (focus group)


ผลการวิจัย พบว่า


1. ด้านสภาพปัญหาการพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย (1) ด้านการได้รับนโยบายการส่งเสริมของมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ย 3.58 อยู่ในระดับมาก (2) การได้รับการส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยระดับชาติ มีค่าเฉลี่ย 3.50 อยู่ในระดับปานกลาง และระดับนานาชาติ มีค่าเฉลี่ย 3.31 อยู่ในระดับปานกลาง และ (3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัย มีค่าเฉลี่ย 3.56 อยู่ในระดับมาก


2. ด้านศักยภาพในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ด้านศักยภาพที่มี พบว่า มีค่าเฉลี่ย 3.41 อยู่ในระดับปานกลาง ในศักยภาพที่ต้องการ พบว่า มีค่าเฉลี่ย 4.36 อยู่ในระดับมาก ศักยภาพในการดำเนินการวิจัย ด้านศักยภาพที่มี พบว่า มีค่าเฉลี่ย 3.40 อยู่ในระดับปานกลางและในศักยภาพที่ต้องการ พบว่า มีค่าเฉลี่ย 4.40 อยู่ในระดับมาก


3. ด้านการประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมอาจารย์การเขียนบทความวิจัยเพื่อการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ ด้านระดับความรู้และทักษะที่มีในปัจจุบัน พบว่า มีค่าเฉลี่ย 3.22 อยู่ในระดับปานกลาง และสิ่งที่ต้องการฝึกอบรมเพิ่มเติม มีค่าเฉลี่ย 4.42 อยู่ในระดับมากซึ่งได้นำข้อมูลดังกล่าวไปสร้าง Model การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม


 


FACULTY’S RESEARCH POTENTIAL DEVELOPMENT BY UTILIZING PARTICIPATIVE RESEARCH PROCESS


The purposes of this research were to develop and evaluate faculty’s research potential development system by utilizing participative research process. The population included 15, 252 faculty members from 40 Rajabhat Universities. A total of 377 sample groups were selected by using Krejcie and Morgan (1970) table. Statistics included means, standard deviation, focus group and then using descriptive summary.


The findings revealed that:


1. In terms of problem status of the development of management of university research (1) the university supporting policy had a mean of 3.58 or at a high level, (2) the university promotion of publication at a national level had a mean of 3.50 or at a medium level and at an international level had a mean of 3.31 or at a medium level. (3) the participation of research process had a mean of 3.56 or at a high level.


2. In terms of potential in writing a research proposal, the potential had a mean of 3.41, or at a medium level, required potential had a mean of 4.36, or at a high level, potential in research process had a mean of 3.40, or at a medium level, and required potential had a mean of 4.40 or at a high level.


3. In terms of the evaluation of the importance and necessary to train faculty members to write research papers for international publication, level of knowledge and skill at present had a mean of 3.22, or at a medium level and the need for more training had a mean of 4.42, or at a high level. All of this information will be used to create model for faculty’s research potential development by utilizing participative research.

Article Details

How to Cite
สิทธิสม ว., ชินะตระกูล ร., วิมลเกษม ง., & สินธนะกูล ก. (2017). การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม. Ph.D. In Social Sciences Journal, 7(3), 133–147. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/82063
Section
Research Article