ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

Main Article Content

สมบัติ กาวิลเครือ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์พฤติกรรมการ ออกกำลังกายของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง (2) ศึกษาระดับของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วน บุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 287 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า


1. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการออกกำลังกายเป็นประจำ


2. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัจจัยนำ ซึ่งได้แก่ ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุปฏิบัติได้ การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถของตนเองการออกกำลังกาย อยู่ในระดับมาก การรับรู้อุปสรรคการออกกำลังกายอยู่ในระดับน้อย ปัจจัยเอื้อ อันได้แก่ การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะในการออกกำลังกายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่บ้านมีพื้นที่บริเวณบ้านออกกำลังกาย มีและ/หรือใช้อุปกรณ์ออกกำลังกาย อยู่ในระดับมาก ปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับคำแนะนำการออกกำลังกายจากบุคลากรสุขภาพ อยู่ในระดับมาก และการได้รับข้อมูลข่าวสารกิจกรรมการออกกำลังกายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลาง


3. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่ผู้สูงอายุปฏิบัติได้ การรับรู้ประโยชน์ในการออกกำลังกาย การรับรู้ ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกาย การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะในการออกกำลังกายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่บ้านมีพื้นที่บริเวณบ้านออกกำลังกาย มีและ/หรือใช้อุปกรณ์ออกกำลังกาย การได้รับคำแนะนำ การออกกำลังกายจากบุคลากรสุขภาพ การได้รับข้อมูลข่าวสารกิจกรรมออกกำลังกายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


 


PHYSICAL EXERCISE BEHAVIORS OF ELDERLY PEOPLE SERMNGAM DISTRICT, LAMPANG PROVINCE


This research is a descriptive study, It aims to study (1) conditions of behavior under elderly exercise focusing on Sermngam Sub-district, Lampang. (2) personal, predisposing, enabling, and (3) reinforcing factors that are related to the exercise behavior of the elderly people 287 samples from simple sampling have been observed. The applied statistics were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient.


The results are:


1. The average elderly exercise is at regular level.


2. The average elderly have predisposing factors as knowledge of elderly exercise, benefits and self-awareness are at high level. However, the awareness of exercise risk is at low level. Enabling factors as the levels of public access to local administration exercise zone, living in a residence where exercise area is included, owning or operating exercise equipment are at high level. Reinforcing factors as receiving advice from exercise experts are at high level, information received on the exercise activities of the local administration is moderate.


3. The factors such as age, education, and income, knowledge based on elderly exercise, benefits of exercise, and exercise self-awareness, public access to local administration exercise zone, living in a residence where exercise area is included, and owning or operating exercise equipment, receiving advice from exercise experts and receiving information on the exercise activities of the local administration, also have a significant impact on their exercise behavior.

Article Details

How to Cite
กาวิลเครือ ส. (2017). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. Ph.D. In Social Sciences Journal, 7(3), 161–173. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/85194
Section
Research Article