ศักยภาพผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อความเข้มแข็งด้านคุณภาพชีวิตและสังคม ในจังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

พัชนี ตูเล๊ะ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อความเข้มแข็งด้านคุณภาพชีวิตและสังคมในจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 400 คน และสุ่มตัวอย่าง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อความเข้มแข็งด้านคุณภาพชีวิตและสังคมในจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 400 คน และสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามอำเภอ โดยใช้จำนวนประชากรแต่ละอำเภอเป็นฐานในการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่น โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยการใช้ตัวแปรเป็นขั้นๆ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพของผู้นำชุมชนอยู่ในระดับมาก (x= 3.55, S.D.= 0.70) การมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง (x= 3.25, S.D.= 0.73) ความเข้มแข็งด้านคุณภาพชีวิตและสังคมในจังหวัดนราธิวาสอยู่ในระดับ
ปานกลาง (x= 3.39, S.D.= 0.61) ศักยภาพผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถร่วมกันพยากรณ์ถึงความเข้มแข็งด้านคุณภาพชีวิตและสังคมในจังหวัดนราธิวาส ได้ร้อยละ 52.10 (R2= 0.521) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังนั้น ความ
เป็นพหุวัฒนธรรมของผู้นำชุมชนที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งด้านคุณภาพชีวิตและสังคม จำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพด้านบริหารงานและด้านบริหารสังคมโดยประชาชนต้องเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อให้ชุมชนเกิดการพัฒนาและมีความเข้มแข็ง
อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ตูเล๊ะ พ. (2018). ศักยภาพผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อความเข้มแข็งด้านคุณภาพชีวิตและสังคม ในจังหวัดนราธิวาส. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(2), 74–86. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/115931
Section
Research Article

References

1.กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

2.ไกรสร เพ็งสกุล. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ : กรณีศึกษาลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียนจังหวัดตรัง. สงขลา: สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8 กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

3.ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ฉบับสมบูรณ์. สืบค้นจาก
https://www.kruinter.com/file/29720141006205700-[kruinter.com].pdf. วันที่สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2559.

4.พระมหาประกาศิต สิริเมโธ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านคลองใหม่
อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

5.วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2554). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

6.วราภร ช้างอยู่. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู
ผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

7.ศิริพร เลิศยิ่งยศ.(2560). การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิง
อายธรรม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และ
สังคมศาสตร์, 25(48), 177-202.

8.ศรีสุดา มีชำนาญและสมชาย ลักขณานุรักษ์. (2553). คุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม.
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 1(2), 269 - 281.

9.สมเกียรติ ยมจินดา. (2551). แนวทางการพัฒนาผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของประชาชน ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัด
ระยอง. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

10.สุธีญา พรหมมาก. (2554). ภาวะผู้นำกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว
ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยบริการ, 22(3), 30 - 43.

11.สำนักงานจังหวัดนราธิวาส. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลประชากรจังหวัดนราธิวาส. สืบค้นจาก https://www.narathiwat.go.th/
narathiwat/index.php?option=com_content&view=article&id=158:2014-07-09-23-21-21&catid=
41&Itemid=188 วันที่สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2559.

12.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th/download/plan12. วันที่สืบค้น 9 ตุลาคม 2560.

13.อภิชาติ โตดิลกเวชช์, อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์, ทวีป บุตรโพธิ์, ณรงค์ บุ่ยศิริรักษ์ และเพ็ญแข ศรีสุทธิกุล (2559). แนวทาง
การดำเนินงานระบบ มชช. สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนกรมการพัฒนาชุมชน, บริษัทบีทีเอสเพรส จำกัด.
86

14.อาธิศักดิ์ จอมสืบวิสิฐ. (2555). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. คู่มือฝึกอบรมวิทยากรเผยแพร่ความรู้การเมือง
ภาคพลเมืองสู่เยาวชน, สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า.

15.Yamane, T. (1973). Statistics; An introductory analysis. (3rd ed.). Tokyo: Harper International Edition.