การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

โซเฟีย แวหะมะ

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรกร การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรกร การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม
ผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรจำนวน 400 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐของสำนักงานเกษตรจังหวัด และการยางแห่งประเทศไทยในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รวมเป็น 6 หน่วยงาน โดยเลือกแบบเจาะจง 
ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ประเมินสภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านราคา ด้านต้นทุนการผลิต และด้านเงินทุน ประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย 6 
ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านความมั่นคง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูล
เชิงคุณภาพใช้การพรรณนาความ สังเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และเสนอแนะเชิงวิชาการ  ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมภายในด้านเงินทุน ด้านต้นทุนการผลิต และด้านราคา เป็นจุดอ่อน ศักยภาพของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( x =2.26, S.D.=0.99) (x=2.47,    S.D.=0.97) (x=2.51,   S.D.=0.92) ตามลำดับ สภาพ
แวดล้อมภายนอกด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ และด้านเศรษฐกิจ นั้นเป็นอุปสรรค ศักยภาพของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (x =2.57,   S.D.=1.08) (x =2.53,   S.D.=0.86) ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาเกษตรกรทั้งภาครัฐและ
เกษตรกรจำเป็นต้องร่วมมือกันทั้ง 2 ฝ่าย ภาครัฐต้องมีนโยบายสนับสนุนเงินทุน มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำในการดำเนินจัดการยางพาราทั้งระบบ ส่วนเกษตรกรก็ต้องให้ความร่วมมือในการปลูกยางให้มีคุณภาพ มีความรับ
ผิดชอบ เปิดรับความรู้ใหม่ และพึ่งพาตนเอง วิจัยนี้ช่วยสะท้อนให้เห็นสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่แท้จริง เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าต้องสนับสนุนจุดแข็งและคว้า
โอกาส หาวิธีแก้ไขจุดอ่อนและขจัดอุปสรรคอย่างไร เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาครัฐและเกษตรกรต่อไป

Article Details

How to Cite
แวหะมะ โ. (2018). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(2), 96–110. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/115933
Section
Research Article

References

1.กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:ธรรมศาสตร์.
จำนงค์ จุลเอียด. (2558). รูปแบบการส่งเสริมเพื่อพึ่งพาตนเองของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสาร
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(1), 135-145.

2.ดำรง ใคร่ครวญ. (2559). แก้ปัญหาราคายาง: The Malaysia Model. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560, จาก https://www.thaiembassy.
org/kualalumpur/th/home

3.นภาพร เวชกามา และรวี หาญเผชิญ. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อ พัฒนาคุณภาพ
ชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางพารา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารเกษตรพระวรุณ, 10(2), 175-182.

4.นัดดา รัศมีแพทย์ และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. (2560). การปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตร อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 35(1), 117-124.

5.บรรพต วิรุณราช. (2557). ศักยภาพการทำสวนยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาการจัดการ,
31(2), 35-63.

6.พลากร สัตยซื่อ และปุรวิชย์ พิทยาภินันท์. (2559). สิ่งจูงใจต่อการปลูกยางพาราในพื้นที่นาของเกษตรกรตำบลท่า ข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 34(3), 61-72.

7.เรไร ลำเจียก. (2556). ปัญหาราคายางพาราไทย: ข้อเสนอแนวทางการแก้ไข. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา,
3(18), 2-18.

8.วัลลภา ช่างเจรจา และสมจิต แดนสีแก้ว. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์กลวิธีพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวสวน
ยางพาราแถบลุ่มน้ำโขง จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(2), 166-174.

9.วิลาวรรณ มณีบุตร. (2559). ความคิดเห็นของเกษตรกรชาวสวนยางพาราต่อนโยบายแก้ปัญหาความเดือดร้อน เนื่องจากราคา
ยางพาราตกต่ำ กรณีศึกษา: ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

10.วิไลวัลย์ แก้วตาทิพย์. (2557). ปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. ภาควิชาเทคโนโลยี
การเกษตร คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

11.สำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส. (2559). ข้อมูลยางพาราของจังหวัดนราธิวาส ปี 2559. นราธิวาส: สำนักงานเกษตรจังหวัด
นราธิวาส กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

12.สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี. (2559). ข้อมูลยางพาราของจังหวัดปัตตานี ปี 2559. ปัตตานี: สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

13.สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา. (2559). ข้อมูลยางพาราของจังหวัดยะลา ปี 2559. ยะลา: สำนักงานเกษตร จังหวัดยะลา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

14.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

15.สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). (2561). ความสำคัญของยางพาราต่อเศรษฐกิจและสังคม.
ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560, จาก https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/para/history/01-10.php

16.สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์ และภาสประภา ตระกูลอินทร์. (2558). ผลกระทบภายนอกของการปลูกพืชเศรษฐกิจ:
ยางพารา.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมและมนุษย์ศาสตร์, 5(2), 161-169.

17.อุทัย สอนหลักทรัพย์. (2559). ทิศทางยางพาราไทย ในบริบทไทยแลนด์ 4.0. ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2560,
จาก https://www.komchadluek.net/news/agricultural/242924

18.Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

19.Nunnally, J.C & Bernstein, I.H. (1994). Psychometric Theory. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.
Osborne, S.P. & Brown, K. (2005). Managing Change and Innovation in Public Service Organizations.
London and New York: Routledge.

20.Yamane, T. (1973). Statistics; An introductory analysis. (3rd ed.). Tokyo: Harper International
Edition.