การพัฒนาองค์ประกอบความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

Jutarat Kerdcharoen
Kittivong Sasoad
Luksanaporn Rodpitakkun
Somjai Nokdee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยของรูปแบบความผูกพันต่อองค์กร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยของรูปแบบความผูกพันต่อองค์กร2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ 4)  เพื่อประเมินความสอดคล้องของรูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน 1) การหาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้จากการสังเคราะห์วรรณกรรมเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย 2) การพัฒนาตัวบ่งชี้ความผูกพันต่อองค์กรโดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านความผูกพันต่อองค์กรพยาบาลจำนวน 10 ท่าน นำผลมาสร้างแบบสอบถามและนำไปหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ค่าความเที่ยงตรงทั้งฉบับเท่ากับ .96 และหาค่าความเชื่อมั่นจากพยาบาลกลุ่มตัวอย่าง 30 คน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94  3) การพัฒนารูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาล จากกลุ่มตัวอย่างพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์ เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 331 คน 4)การประเมินความสอดคล้องของรูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาล โดยการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่า ความผูกพันด้านพฤติกรรม ความผูกพันด้านจิตใจ และความผูกพันด้านความต่อเนื่อง เป็นองค์ประกอบสำคัญของรูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์องค์ประกอบความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์มีค่าเป็นบวกทุกค่า และมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทุกค่า แสดงว่าตัวบ่งชี้ทุกตัวมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ องค์ประกอบของโมเดลความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 23.68และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value=.20886) ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.246 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน(GFI) เท่ากับ.98 ส่วนค่ามาตรฐานดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .027 สรุปได้ว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ระดับดี ผลการวิจัยทำให้ได้องค์ประกอบความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 3 องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบย่อยและ 40 ตัวบ่งชี้

Article Details

How to Cite
Kerdcharoen, J., Sasoad, K., Rodpitakkun, L., & Nokdee, S. (2019). การพัฒนาองค์ประกอบความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 103–116. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/116542
บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา แสวงดี.(2550). สถานการณ์กำลังคนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 2 (1), 41-42.

งานบริหารทรัพยากรบุคคล เขตสุขภาพที่ 6. (2560). สถานการณ์กำลังคนสายงานพยาบาลวิชาชีพ. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2560, จากhttp://region6.cbo.moph.go.th/chro/?page_id=225.

นภชา สิงห์วีรธรรม และยุพาวดี ขันทบัลลัง. (2560). สถานการณ์การผลิตกำลังคนด้านสุขภาพของสถาบันพระบรมราชชนกเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 218-225.

นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2558). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร:ความท้าทายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความหลากหลายของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 18- 34.

เนตรนภา นันทพรวิญญู. (2551). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จํากัด. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพฯ.

ภรณี มหานนท์. (2539). การประเมินประสิทธิผลขององค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

รินทร์ลภัส อรรถเธียรไชย. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพฯ.

วิจิตร ศรีสุพรรณ และกฤษดา แสวงดี.(2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 27 (1),5, 9-11.

วรารักษ์ ลีเลิศพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น, กรุงเทพฯ.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุขประจำปี 2556. กรุงเทพฯ.

สุนาภา คุ้มชัย. (2552). ความผูกพันของบุคลากรต่อหน่วยงานราชการ: กรณีศึกษากรมชลประทาน. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

สุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2554). การขาดแคลนพยาบาลกับการเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ: ประเด็นท้าทายสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 23 (1), 1.

อรุณรัตน์ คันธา. (2557). ผลกระทบและทางออกของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาลในประเทศไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32 (1), 84-86.

Allen, N. J. & Meyer J. P.. (1990). “The measurement and Antecedents of Affective, Continuance and Normative Commitment to the Organizational”. Journal of Occupational Psychology, 63, 1-18.

Cherrington, J.D.. (1994). Organization Behavior The Management of Individual and Organization Performance. Boston: Allyn and Bacon, 296.

Dunham, R.B., Gibe J.A. & Castanda M.B.. (1994). “Organization Commitment: The Utility of an Integrative Definetion”. Journal of Applied Psychology, 79 (June), 370.

Hewitt Associates. (2004). “Employee Engagement” [Online]. Retrieved January 19, 2017, from http://www.was4.hewitt.com.

Hrebinak, L.G. & Alutto, A.J. (1972). Personal and role – related factors in the Development of organizational commitment. Administrative Sciences Quarterly, 17.

International Survey Research. (2004). 3 D model employee engagement. Retrieved August, 2, 2015 from http://short.strange-company.info.

Kanter, R.M.. (1968). Commitment and Social Organization: A Study of Commitment Mechanisms in Utopian Communities. American Socilogical Review, 499 – 517.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W.. (1970). Educational and Psychological Measurment. New York: Minnisota University.

Luthans, F. (1994). Organization Behavior. (6th ed.). New Jersey: Mcgraw-Hill Inc, 124.

Mowday, Steer, R.M. & Porter, L.W.. (1979). “The Measurement of Organizational Commitment”. Journal of Vocational Behavior, 14, 2, 224-247.

Mueller, C.W. & Lawler, E.J. (1999). Commitment to nested organizational units: some basic principles and preliminary findings. Social Psychology Quarterly, 62, 325–346.

Spector, P.E. (1997). Job Satisfaction: Application, assessment, causes, and consequences. California Sage Publications, Inc.

Steers, R.M. (1977). “Antecedent and Out Comes of Organizational Commitment”. Administrative Science Quartery, 22, 46, 122-123.

Steers, R.M. & Porter L.W.. (1983). Motivation and Work Behavior. New York: Mc Graw-Hill Book Company, 303-304.