ลักษณะข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทย: กรณีศึกษาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

Main Article Content

วันชัย แก้วหนูนวล
ภัสร์ธีรา ฉลองเดช

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นนักศึกษาสังกัดคณะต่างๆ จำนวน 4 คณะ 1 วิทยาลัย จากสำเนาข้อสอบ ปลายภาคต้น ปี งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นนักศึกษาสังกัดคณะต่างๆ จำนวน 4 คณะ 1 วิทยาลัย จากสำเนาข้อสอบ ปลายภาคต้น ปี
การศึกษา 2560 รายวิชา 11-034-101 การใช้ภาษาไทย ที่ผ่านการวิพากษ์จากคณะกรรมการวิพากษ์ข้อสอบแล้ว ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 196 คน โดยการใช้ตารางของทาโร ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลข้อผิดพลาด  4 ด้าน คือ  ด้านอักขรวิธี  ด้านการใช้คำ 
ด้านการใช้ประโยค และด้านรูปแบบการเขียน ผลการวิจัยพบว่า ข้อผิดพลาดด้านอักขรวิธีมี 3 ประเภท คือ การสะกดการันต์ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการเว้นวรรค ข้อผิดพลาดด้านการใช้คำมี 4 ประเภท คือ การใช้คำผิดความหมาย การใช้
คำผิดหน้าที่ การใช้คำฟุ่มเฟือย และการใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน ส่วนข้อผิดพลาดด้านการใช้ประโยคมี 3 ประเภท คือ การใช้ประโยคไม่ถูกต้องสมบูรณ์ การใช้ประโยคที่เรียงคำหรือกลุ่มคำผิดตำแหน่ง และการใช้ประโยคที่เป็นสำนวนภาษาต่าง
ประเทศ และข้อผิดพลาดด้านรูปแบบการเขียน คือ การใช้รูปแบบในการเขียนไม่ถูกต้องตามแบบลักษณ์ ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ข้อผิดพลาดในการเขียนของนักศึกษาต่อไป

Article Details

How to Cite
แก้วหนูนวล ว., & ฉลองเดช ภ. (2018). ลักษณะข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทย: กรณีศึกษาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(2), 1–11. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/133575
Section
Research Article

References

1.กฤษณา ธีระเชาวพัฒน์. (2561). รักบ้านรักเมืองไทย รักษาไว้ด้วยวัฒนธรรม เสริมสร้างและกล่าวย้ำ ให้สมค่าความเป็นไทย.
สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560 จาก http://swis.acp.ac.th/html_edu/.

2.กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร. (2561). 29 กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 มกราคม 2561 จาก http://www.finearts.go.th.

3.กานต์รวี ชมเชย. (2556). ''ภาษาไทยในเน็ต'' ภาษาเฉพาะกลุ่มของคนรุ่นใหม่ในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต. สืบค้นเมื่อวันที่
2 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://www.ica.swu.ac.th/.

4.ไขสิริ ปราโมท ณ อยุธธยา. (2519). การศึกษาวิเคราะห์ลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนิสิต คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2515 และ 2516. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

5.คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวสราชนครินทร์. (2559). รายงานผลการสอบปลายภาคเรียน ประจำปีการศึกษา 2559.

6.จิราภรณ์ กาแก้ว. (2554). การศึกษาทัศนคติ คำ และสำนวนภาษาอังกฤษในภาษาไทยในรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://www.edu.kps.ku.ac.th/.

7.ฐานะมนตร์ กลิ่นจันทร์แดง. (2555). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2552. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

8.ทัศนีย์ ทานตวณิช. (2558). ข้อผิดพลาดในการเขียนเชิงวิชาการของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(43), 1-29.

9.ปณิธาน บรรณาธรรม. (2555). นักศึกษาจีนกับข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

10.พะยอม ทนมี. (2541). ลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1
วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส ปีการศึกษา 2539. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

11.มติชนสุดสัปดาห์. (2560). เจาะลึก...วิกฤตภาษาไทย ปัญหาใหญ่ ศธ. เกาไม่ถูกที่คัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2561
จาก https://www.matichonweekly.com/.

12.วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2557). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

13.สุจริต เพียรชอบ. (2539). ''สอนเขียนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ''ชุดความรู้ภาษาไทยสอนให้สนุกเป็นสุขกับการเรียน. กรุงเทพฯ:
คุรุสภา.

14.สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2554). โครงการพัฒนาภาษาและฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น (ระยะที่ 3: เดือนเมษายน 2554 - เมษายน
2555). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

15.Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.