ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์: การวิเคราะห์พหุระดับ

Main Article Content

โรสนี จริยะมาการ
ชื่นใจ สุกป่าน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยระดับผู้เรียนและปัจจัยระดับห้องเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยระดับผู้เรียนและปัจจัยระดับห้องเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษา
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 739 คนจาก 4 คณะ 17 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่ง
ผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 คุณภาพ
เครื่องมือด้านความเที่ยง ใช้การตรวจสอบความสอดคล้องภายใน โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปหาค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรม HLM 
วิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยระดับผู้เรียนที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ตัวแปรรายได้ครอบครัว 2) ปัจจัยระดับห้องเรียน ได้แก่ ประสิทธิภาพการสอน และบรรยากาศในชั้น
เรียน พบว่าไม่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3) ค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (%R2) มีค่าไม่สูงมากนักสำหรับการทำนายหรืออธิบายความผันแปรของค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในแต่ละห้องเรียน 
การทำนายหรืออธิบายความผันแปรของเพศ (ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (slope) แสดงอิทธิพลของเพศต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์) และการทำนายหรืออธิบายความผันแปรของรายได้ (ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (slope) แสดง
อิทธิพลของรายได้ครอบครัวต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์) ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (%R2) มีค่อนข้างสูงสำหรับการทำนายหรืออธิบายความผันแปรของเจตคติต่อคณิตศาสตร์ (ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (slope) แสดงอิทธิพล
ของเจตคติต่อคณิตศาสตร์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์)

Article Details

How to Cite
จริยะมาการ โ., & สุกป่าน ช. (2018). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์: การวิเคราะห์พหุระดับ. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(2), 26–40. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/133576
Section
Research Article

References

1.กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.
กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

2.ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์. (2556). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการปทุมวัน, 3(7), 23-29.

3.นิตยา จันตะคุณ. (2560). การศึกษาระดับความรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชา
คณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. วารสารเซาธ์อีสท์บางกอก. 3(2), 1-11.

4.ไพรัตน์ วงษ์นาม. (2555). การวิเคราะห์การถดถอยพหุระดับด้วยโปรแกรม HLM 6.วารสารศึกษาศาสตร์, 23(3), 27-42.

5.รวีวรรณ ขำพล. (2555). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารกึ่งวิชาการ, 33(3), 79-82.

6.ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). การวิเคราะห์พหุระดับ (MULTI-LEVEL ANALYSIS) (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). (พิมพ์ครั้งที่ 5).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7.สำรวย หาญห้าว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 18(1), 142-158.

8.อนงค์ อินตาพรหม. (2552). การวิเคราะห์พหุระดับของปัจจัยระดับครู และ นักเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

9.อังสนา จั่นแดง และพัชรินทร์ เศรษฐีชัยชนะ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการคณิตศาสตร์
สำหรับนักศึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

10.อาภรณ์ อินต๊ะชัย (2556). รายงานวิจัยการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ
นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.

11.Best, W. J. (1997). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hell, lnc.

12.Jelas, M. Z., Salleh, A., Mahmud, I.,Azman, N.,Hamzah, H., Abd.Hamid, Z.,. . .Hamzah, R. (2014). Gender
Disparity in School Participation and Achievement: The Case in Malaysia. Procedia - Social and
Behavioral Sciences, 140, 62-68. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/
S1877042814033138

13.Marbuah, A. D. (2016). Influence of Parental Income and Educational Attainment on Children's Years of
Schooling: Case of Ghana. (Master's thesis). Uppsala University, Department of Education, Sociology
of Education. Retrieved from http://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:1092869/FULLTEXT01.pdf

14.Egalite, J. A. (2016). How Family Background Influences Student Achievement. Education Next, 16(2),
70-78. Retrieved from http://educationnext.org/how-family-background-influences-studentachievement/