กลยุทธ์การตลาดบริการธุรกิจโรงแรม ในเขต Royal Coast ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันตก

Main Article Content

ธนวันต์ สิทธิไทย

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในเขต Royal Coast ในปัจจุบัน 2) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของผู้ใช้บริการโรงแรมในเขต Royal Coast 3) เพื่อกำหนดตัว การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในเขต Royal Coast ในปัจจุบัน 2) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของผู้ใช้บริการโรงแรมในเขต Royal Coast 3) เพื่อกำหนดตัว
แบบการตลาดบริการที่เหมาะสมในการตลาดบริการธุรกิจโรงแรมในเขต Royal Coast การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมา
ใช้บริการจำนวน 400 คน สัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน/ตัวแทนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของภาครัฐ ผู้มีส่วนในการกำกับดูแล และส่งเสริมการตลาดบริการธุรกิจโรงแรมในเขต Royal Coast อย่างละ 10 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ
บอกต่อเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามและแบบสอบถามกึ่งโครงสร้างการหาคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้วิธีการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 0.89 และได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถาม เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์สถิติ SPSS และโปรแกรมสถิติขั้นสูง (Lisrel) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของธุรกิจโรงแรมในเขต Royal Coast ในปัจจุบันเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ต้องแข่งขันกันที่ผลิตภัณฑ์ สินค้าและการบริการของโรงแรม ลักษณะการดำเนินงานด้านโครงสร้างองค์กร (structure) ใช้การควบ
คุมแบบรวมอำนาจอยู่ที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจหรือทีมบริหารที่มาจากการซื้อแฟรน์ไซส์ หรือการลงนามทำสัญญาดำเนินธุรกิจมีการแบ่งแผนกตามรูปแบบการบริการในแบบโรงแรมระดับขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีการจัดการรูปแบบใน
ลักษณะให้ความเป็นกันเองกับลูกค้า เน้นความเป็นไทยและใช้ทรัพยากรท้องถิ่นมาเป็นจุดขาย เน้นการทำงานเพื่อให้คนเกิดความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะทาง ตามแนวคิด Specialization 2) พฤติกรรมการใช้บริการของนักท่องเที่ยว พบว่า ประเภท
ของนักท่องเที่ยวแบบGroup ความถี่ในการใช้บริการ ปีละ 3-4 ครั้ง งบประมาณในการเข้าพักในโรงแรมต่อคืน 2,001-3,500 บาท ระยะเวลาในการพักในแต่ละครั้งคิดเป็น 3-4 วัน/คน ปัจจัยทางด้านผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวแต่
ละครั้งคือครอบครัว/ญาติ 3) ตัวแบบของกลยุทธ์การตลาดบริการที่เหมาะสมของกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการการตลาดบริการ ธุรกิจโรงแรมในเขต Royal Coast หลังจากนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor 
Analysis:CFA) พบองค์ประกอบที่สำคัญ 8 องค์ประกอบ และค้นพบโมเดลชื่อ SEASIDES

Article Details

How to Cite
สิทธิไทย ธ. (2018). กลยุทธ์การตลาดบริการธุรกิจโรงแรม ในเขต Royal Coast ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันตก. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(2), 135–146. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/133582
Section
Research Article

References

1.กมลทิพย์ พลบุตร และธนวันต์ สิทธิไทย (2557). รายงานวิจัยการส่งเสริมและการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเชิง
วิชาชีพในอุตสาหกรรมบริการ (ท่องเที่ยวและโรงแรม) สำหรับการทำงานในเขต Royal Coast เพื่อสร้างศักยภาพ
ทางการแข่งขันในประชาคมอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

2.กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร จำกัด

3.ธนวันต์ สิทธิไทย. (2555). กลยุทธ์การตลาดบริการธุรกิจร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลเพื่อสร้างศักยภาพทางการ
ท่องเที่ยว. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

4.ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
ธิตินันท์ ชาญโกศล.(2555). กลยุทธ์การตลาดบริการธุรกิจนำเที่ยว. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ.

5.บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2556). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โยธิน แสวงดี. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาและฝึกอบรมการวิจัย.

6.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560).GDP ไตรมาสสาม ปี 2560 และแนวโน้มปี 2560 -
2561 สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560. จาก

7.สำนักเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.(2558).รายงานโครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย The Royal Coast (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง) และพื้นที่เชื่อมโยง.
กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

8.Bitner. M.J., Booms, B.H., & Tetreault, M.S.(1990).The service encounter: Diagnosing favorable and unfavorable
incidents. Journal of Marketing, 54(1), 594-595.

9.Doyle, J. D., Heslop, L. A., Ramirez, A., & Cray, D. (2012). Trust intentions in readers of blogs. Management
Research Review, 35(9), 837-856. doi:10.1108/01409171211256226

10.Kotler, P. & Armstrong, G. (2009). Principle of marketing. (13th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

11.Hsin-Hui Hu & H.G. Parsa. 2011. Self-monitoring, dining companions and the usage of alternative currencies.
Journal of Product & Brand Management, 20(3), 228-237.

12.Hutter, K., Hautz, J., Dennhardt, S., & Fuller, J. (2013). The impact of user interactions in social media on
brand awareness and purchase intention: The case of MINI on Facebook. The Journal of Product
and Brand Management, 22(5/6), 342-351.doi:10.1108/jpbm-05-2013-0299

13.Muhammad .(2014). The Concept of Marketing Mix and its Element. International Journal of Information,
Business and Management, 6,(5/6), 5-9.

14.Ray, D. (2014). Overcoming cross-cultural barriers to knowledge management usingsocial media. Journal of
Enterprise Information Management, 27(1), 45-55.

15.Robert, J. and Julien R..(1980). Business Horizons, 23(3), 14-26.

16.Rosman, R., & Stuhura, K. (2013). The implications of social media on customer relationship management
and the hospitality industry. Journal of Management Policy and Practice, 14(3), 18-26. Retrieved
October 16, 2014 from http://nabusinesspress. homestead.com/JMPP/RosmanR_Web14_3_.pdf.

17.Yamanae, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York : Harper & Row.

18.Wright, H. (2014). Volunteer tourism and its misperceptions: A comparative analysis of tourist/host
perceptions. Tourism and Hospitality Research, 13(4), 239-250.