การประยุกต์ใช้วิธีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์กองทัพอากาศในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

พงษ์สุวรรณ ศรีสุวรรณ
ดวงเนตร ธรรมกุล

Abstract

การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษาการนำวิธีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์กรภาครัฐด้านการป้องกันประเทศ โดยเลือกกองทัพอากาศเป็นกรณีศึกษา เก็บรวบรวม การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษาการนำวิธีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์กรภาครัฐด้านการป้องกันประเทศ โดยเลือกกองทัพอากาศเป็นกรณีศึกษา เก็บรวบรวม
ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกองทัพอากาศจำนวน 290 คน ด้วย 4 เทคนิค ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสัมมนา การประชุม และการแสดงความคิดเห็นออนไลน์วิเคราะห์
ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า วิธีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติสามารถนำมาใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกองทัพอากาศได้อย่างมีคุณภาพ โดยองค์ประกอบจุดมุ่งหมายทางยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์กองทัพ
อากาศที่มีศักยภาพและความสามารถครอบคลุมทุกมิติในประชาคมอาเซียน ที่รองรับด้วย 4 เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ (การเสริมสร้างสมรรถนะและความพร้อมของกองทัพอากาศในประชาคมอาเซียน การพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงของ
ประเทศในกลุ่มอาเซียน การพัฒนาความสัมพันธ์ของกองทัพอากาศประเทศในกลุ่มอาเซียน และการสนับสนุนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน)และวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ 15 ประการ องค์ประกอบ
กรอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 24 กลยุทธ์ และองค์ประกอบกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มีหน่วยรับผิดชอบกลยุทธ์ จำนวน 8 หน่วยงาน ประโยชน์ที่ได้รับคือ นอกจากองค์กรภาครัฐจะสามารถนำวิธีการกำหนด
ยุทธศาสตร์ชาติไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์องค์กรแล้ว ยังสามารถนำส่วนที่เกี่ยวข้องจากยุทธศาสตร์กองทัพอากาศในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนไปประยุกต์ใช้ได้อีกด้วย

Article Details

How to Cite
ศรีสุวรรณ พ., & ธรรมกุล ด. (2018). การประยุกต์ใช้วิธีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์กองทัพอากาศในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(2), 172–183. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/133586
Section
Research Article

References

กระทรวงกลาโหม. (2555). แผนปฏิบัติการ 3 ปี กระทรวงกลาโหม (ปี 2556-2558) ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคม

อาเซียน ปี 2558. กรุงเทพมหานคร: กองอาเซียน สำนักยุทธศาสตร์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม.

กระทรวงการต่างประเทศ. (2555). แผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (3 เสา) Roadmap for ASEAN

Community 2015.กรุงเทพมหานคร: คาริสม่า มีเดีย.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านประชาคม

สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2557-2559. สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ชูวิทย์ มิตรชอบ. (2555). ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ.2558. การบรรยาย. หอประชุมสุขุม นัยประดิษฐ

สำนักงาน ก.พ.นนทบุรี. 17 ธันวาคม 2555.

นเรศน์ วงศ์สุวรรณ, (2554). คู่มือการกำหนดยุทธศาสตร์ในระดับชาติ. ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

Bryson, J.M. (2015).Strategic planning for public and nonprofit organizations. In The International

Encyclopedia of the Social & Behavioral Sciences. (2nd ed.). pp.515-521.

Ho, J.Y., & O Sullivan, E. (2016). Strategic standardization of smart systems: A road mapping process

in support of innovation. Technological Forecasting & Social Change. Article in press, Contents lists

available at Science Direct, No of Pages 12.

Kotler, P., & Murphy, P.E. (1998). Strategic planning for higher education.Journal of Higher Education, 52,

-489.

Planko, J., Cramer, J.M., Chappin, M.M.H., & Hekkert, M.P.(2016). Strategic collective system building to

commercialize sustainability innovations.Journal of Cleaner Production, 112, 2328-2341.

Plunkett, W.R., Raymond, F.A. & Gemmy, S.A. (2005). Management: Meeting and exceeding customer

expectations. OH: Thomson South-Western.

Suarez, E., Calvo-Mora, A., &Roldan, J.L. (2016). The role of strategic planning in excellence management

systems.European Journal of Operational Research, 248, 532-542.

Wheelen, T.,& Hunger, D. (2008). Strategic management and business policy. (11thed.) NJ: Pearson

Prentice Hall.