การสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้

Main Article Content

Navarat Waichompu
Niran Chullasap
Kittiporn Nawsuwan

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหาร การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ 5 แห่ง ประกอบด้วย1) มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 4) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และ 5) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 510 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ที่มีต่อองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้ค่า IOC จากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .967 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก ใช้วิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ ประกอบด้วย10 องค์ประกอบ 75 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวบ่งชี้ทั้งหมดได้ร้อยละ 70.841 โดยมีค่าไอเกน เท่ากับ 35.584,4.591, 3.641, 2.729, 2.125, 1.849, 1.723, 1.391, 1.274 และ 1.084 ตามลำดับ ได้แก่ 1) การพัฒนาอาจารย์และการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอน 2) การส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี 3) การประกันคุณภาพสถานศึกษา 4) การบริหารและการพัฒนาอาจารย์ 5) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน 6) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการปรับปรุงหลักสูตรสู่การปฏิบัติ 7) ระบบและกลไกการปรับปรุงหลักสูตร 8) การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 9) การวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนลงสู่การปฏิบัติ และ 10) การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 

Article Details

How to Cite
Waichompu, N., Chullasap, N., & Nawsuwan, K. (2019). การสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 31–47. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/168142
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

. . (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชนกพร ไผทสิทธิกุล. (2560). การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต่อการพัฒนา

นักศึกษา เพื่อรองรับวิชาชีพทางด้านสถาปัตยกรรมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.

วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2): 132-145.

ชุมศักดิ อินทร์รักษ์. (2545). การบริหารงานวิชาการ. ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ณรงค์ฤทธิ์ ประสานตรี. (2559). รูปแบบการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์.

วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1): 203-216.

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรภัทร อิ่มพานิช. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(94): 83-97.

นวรัตน์ ไวชมภู. (2559).ความท้าทายของครูพยาบาล: Teach Less, Learn More แห่งศตวรรษที่ 21.

วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2): 44-52.

นวรัตน์ ไวชมภู และสุจิตรา จรจิตร. (2560). การเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21

ของอาจารย์พยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1): 256-279.

นริศ แก้วสีนวล. (2556). รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

นิคม ลนขุนทด. (2551). การพัฒนาการบริหารงานวิชาการของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.

วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุรพร กำบุญ และชลกนก โฆษิตคณิน. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของ

บุคลากรทางการศึกษา มหาวิทยากรุงเทพธนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร

สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1): 1746-1755.

ปฏิภาณ์ มหรรธนาธิบดี. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของวิทยาเขต 10 แห่ง

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาผู้นำการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553).การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พรเทพ สรนันท์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

สุวรรณภูมิ. วารสารครุศาสตร์, 41(3): 173-185.

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ, สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์ และอรุณี หงส์ศิริวัฒน์.

(2554). การศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพยาบาลศาสตร์

ของสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 21(2): 4-17.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ชลบุรี: มนตรี.

เมธี คชาไพร, ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง, รัฐพล ประดับเวทย์ และสมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย. (2558). การพัฒนารูปแบบการ

เรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความรู้และสมรรถนะ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนิสิตหลักสูตรการศึกษา บัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 10(ฉบับพิเศษ): 71-86.

ลี้วัชร์ ตาวงศ์. (2555). การพัฒนาองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการที่มีผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์เรียนของนักเรียน.

ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วรรณรี ปานศิริ, วารุณี ลัภนโชคดี และพิกุล เอกวรางกูร. (2559). การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อ

การเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(5): 115-132.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.

วิบูลย์ลักษณ์ ปรียาวงศากุล.(2551). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการวิทยาลัยพยาบาลในสังกัด

สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 1(2):82-85.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2551). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ภาคปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

สมชาย รัตนคช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, เอกรินทร์ สังข์ทอง, และชวลิต เกิดทิพย์. (2558).

การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.วารสารวิทยบริการ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(3): 61-77.

สุธน วงค์แดง, ภาณุมาส เศรษฐจันทร และวีระพงษ์ สิงห์ครุธ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม

เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37): 75-90.

สุบิน ยุระรัช. (2555). การประเมินการจัดการเรียนการสอนวิชา ED 712 สถิติขั้นสูงสาหรับการวิจัยทางการบริหารการศึกษา.

Proceeding ในการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ประจําปี 2555 วันที่ 26 ตุลาคม 2555.

สถาพร ถาวรอธิวาสน์. (2556). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฎ

จันทรเกษม. มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

สัมมา รธนิธย์. (2560). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2547). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ :

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการ

สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ.

กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

. (2553). มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์.

. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2542). การบริหารงานวิชาการ. ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

โสภาพร กล่ำสกุล. (2554). การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หรรษา เศรษฐบุปผา, สมบัติ สกุลพรรณ์, และสุวิท อินทอง. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการ

เรียนการสอนโดยการบูรณาการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (INTEGRATED E-LEARNING COURSE)

สำหรับนักศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(3) : 1-11.

อัมเรศ เนตาสิทธิ์. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ.

วารสารศึกษาศาสตร์, 22 (3): 186-201.

อริสสา สะอาดนัก. (2557). ทักษะจากการจัดการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรณีศึกษา รายวิชาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม.

การประชุมวิชาการระดับชาติ “ศึกษาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 1 วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2557

ณ โรงแรมหรรษา เจบี อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

Boyle, T., Bradley, C., Chalk, P., Jones, R., & Pickard, P. (2003). Using blended learning

to improve student successrates in learning to program. Journal of Educational Media, 28(2-3): 165-178.

Costello, A.B. & Osborne, J.w. (2005). Best Practices in Exploratory Factor Analysis:

Four Recommendations for Getting the Most From Your Analysis. A peer reviewed electronic journal, Retrieved March 14, 2018.

Cronbach, L. J. (1951). Essentials of Psychological Testing (3 rded). New York: Harper & Row.

Hair, J.F., Black, W. C., Babin, J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global

Perspective. (7 thed). New Jersey: Person Education.

Johson, K, McHugo, C, and Hall, T. (2006). “Analyzing the efficacy of blended learning

using Technology Enhanced Learning (TEL) and m-learning delivery “Technologies. Proceeding of the 23rd annual ascilite conference: 379-383.

Knoeles, A. (1970). Handbook of College and University Administration. New York:

McGraw-Hill Book.

Sergiovanni, T. (1994). Building community in schools.: Jossey Bass.