การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

Thawan Suwan-in
Wan Dechpichai
Rewadee Krahomwong

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1.  ศึกษาพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1.  ศึกษาพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  2.  ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  3. ศึกษาน้ำหนักความสำคัญของแต่ละตัวบ่งชี้ของพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  กระบวนการวิจัยมี 2 ระยะ คือ  ระยะที่  1  ศึกษาพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญจำนวน  9  คน  และศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โดยการสอบถามหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน  432  คน  ด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงตรงแบบ  CVI  เท่ากับ  .91  และค่าความเชื่อมั่น  เท่ากับ  .988  แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ  (EFA)  สกัดปัจจัยด้วยวิธีแวริแมกซ์  ระยะที่  2  ศึกษาน้ำหนักความสำคัญของแต่ละตัวบ่งชี้ของพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยการสอบถามหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไปจำนวน  30 คน  แล้วนำค่าเฉลี่ย () ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน  ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มี  6  พฤติกรรม  48  ตัวบ่งชี้  ได้แก่  องค์ประกอบที่ 1 พฤติกรรมผู้นำด้านอัตลักษณ์ มี  17ตัวบ่งชี้  องค์ประกอบที่ 2 พฤติกรรมผู้นำด้านการพัฒนาตน มี 12 ตัวบ่งชี้  องค์ประกอบที่ 3 พฤติกรรมผู้นำด้านเทคนิคการจัดการเรียนการสอน มี 7 ตัวบ่งชี้  องค์ประกอบที่ 4 พฤติกรรมผู้นำด้านการวางแผนจัดการงบประมาณและพัสดุมี  5 ตัวบ่งชี้องค์ประกอบที่ 5 พฤติกรรมผู้นำด้านเทคนิค  มี 4  ตัวบ่งชี้  องค์ประกอบที่ 6 พฤติกรรมผู้นำด้านการศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้และเมื่อศึกษาน้ำหนักความสำคัญ  พบว่า  ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.77-4.37 โดยตัวบ่งชี้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกตัว 

Article Details

How to Cite
Suwan-in, T., Dechpichai, W., & Krahomwong, R. (2019). การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 131–140. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/188055
บท
บทความวิจัย
Author Biography

Thawan Suwan-in, 0879948247

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

_________. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

จารุวรรณ เยื่อสูงเนิน. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ในโรงเรียนสังกัดบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟ.

ธีรเดช สายเส็น. (2555). องค์ประกอบแลตัวบ่งชี้คุณลักษณะเด่นชัดเฉพาะของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนยอดนิยมภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

(การบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยชวลิตกุล, นครราชสีมา.

บรรเจิด อุ่นมณีรัตน์. (2555). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มพลังอำนาจการทำงานของครู

ในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 78-88.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3). (2553). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. หน้า 1-3.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2549). หลักการและการใช้สถิติการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการ

วิจัยทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. สงขลา: ชานเมือง.

มนัสชัย พรมสวัสดิ์. (2555). พฤติกรรมผู้นำของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ตามทรรศนะของครูในกลุ่มสาระโรงเรียนวิเศษไชยชาญ “ตันติวิทยาภูมิ” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 8.

วลัยลักษณ์ วุฒิปราณี. (2555). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการลำลูกกา. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร.

สนิท ซื่อสัตย์. (2543). สภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขายายโอกาสทางการศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา.). สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี,อุบลราชธานี.

สมร ปาโท. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ สังกัด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย

อีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2(1), 99-109.

สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Hair, F Joseph., et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.