พฤติกรรมและวิธีการปฏิบัติของแม่เลี้ยงเดี่ยวมุสลิมต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตรในเขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

Rohanee Machae
Mutsalim Khareng

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมแม่เลี้ยงเดี่ยวมุสลิมต่อการอบรมสั่งสอนบุตรในเขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี และ 2) ศึกษาวิธีการปฏิบัติของแม่เลี้ยงเดี่ยวมุสลิมต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตร ในเขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี โดยทำการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์อัลกุรอาน หะดีษ ตำรา วิชาการ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูบุตรในอิสลาม และเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง แม่เลี้ยงเดี่ยวมุสลิมที่เกิดจากการหย่าร้างและสามีเสียชีวิต ในเขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จำนวน 108 คน คัดเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย แล้วมาเปรียบเทียบตาราง Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามหาค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha coefficient) ของครอนบัค มีค่าเท่ากับ 0.76 และ 0.80 ค่าดัชนี IOC มีค่ามากกว่า 0.5 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการอบรมสั่งสอนของมารดาต่อบุตรโดยรวม อยู่ในระดับพฤติกรรมกระทำบางครั้ง มีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.14/0.97 ส่วนวิธีการปฏิบัติของแม่เลี้ยงเดี่ยวมุสลิมต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตรโดยรวมอยู่ในระดับพฤติกรรมกระทำ บางครั้ง มีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.82/0.82 โดยมีความมุ่งหวังที่จะอบรม เลี้ยงดูบุตรตามแนวทางอิสลามเติบโตเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินชีวิตอยู่ในกรอบอันดีงาม ของศาสนา และสอดคล้องกับวิถีทางแห่งหลักบัญญัติอิสลามอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
Machae, R., & Khareng, M. . (2020). พฤติกรรมและวิธีการปฏิบัติของแม่เลี้ยงเดี่ยวมุสลิมต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตรในเขตอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 123–141. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/241207
บท
บทความวิจัย

References

ชนม์ธิดา ยาแก้ว, นิศารัตน์ อิสระมโนรส, อัญชิษฐา ปิยะจิตติ, รวี ศิริปริชยากร และ จิราภรณ์ ยกอินทร์. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ภาคตะวันออก. (รายงานการวิจัย) คณะครุศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย วิทยาเขตสุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง, อติญา โพธิ์ศรี และธัยลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์. (2561). การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(1), 95-104.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นาถลดา ตะวันกาญจนโชติ. (2559). ทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกวัยเรียน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(2), 1-21.

นิพาวรรณ์ แสงพรม และสุภาพร ชินสมพล. (2558). ปัจจัยที่มีผลตอพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรของมารดาที่มารับบริการ แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 2. (หน้า.52-58).นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา

พัชชา เจิงกลิ่นจันทร์. (2558). สภาพปัญหาและความต้องการของครอบครัวลักษณะพิเศษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 21(1), 27-38.

พิชาภรณ์ เปรียบเหมือน และธัญมัชฌ สรุงบุญมี. (2562). ผลกระทบของการหย่าร้างต่อค่าจ้างในชายและหญิง. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. (หน้า.1854-1862). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วไลนารถ หอตระกูล. (2558). การจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการเก็บออมเงินตามแนวคิดค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1 / 14. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม.

มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และพรรณี บุญประกอบ. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและการเรียนรู้ของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 7(13), 45-58.

ยาฮารี การเซ็ง. (2558). การจัดกิจกรรมหะละเกาะฮ์เพื่อพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.

วรรณา ชุมพลรักษ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 215-222.

วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์. (2560). ครอบครัวทางเลือกและการคงอยู่ของสถาบันครอบครัว. Veridian E-Journal Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1817-1827.

วัลลภา วงศ์ศักดิรินทร์. (2560). พฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการมีวินัยในตนเองแก่นักเรียน โรงเรียนสาธิตในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 1321-1339.

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. (2542). คัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับแปลภาษาไทย. อัลมะดีนะห์-ซาอุดี อราเบีย : ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัต เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน.

สำนักข่าวอิศรา. (2557). กำพร้า 6,000 ราย หญิงหม้าย 2,800 คน ได้เวลายุติความรุนแรงชายแดนใต้. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2563. จาก: https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/34676-orphan_34676 .html.

สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู และมุจลินท์ กลิ่นหวล. (2559). กิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal,Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย, 9(3), 1550-1562.

สุรีย์พร พันพึ่ง และกมลพรรณ พันพึ่ง. (2558). ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว : การปรับตัวของครอบครัวท่ามกลาง ความเปลี่ยนแปลง. การประชุมสมัชชาครอบครัวระดับชาติประจำ ปี 2558. (หน้า.1854-1862). กรุงเทพมหานคร:กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เสาวคนธ์ วีระศิร, สุรพล วีระศิริ, พิมภา สุตรา และจริญญา โคตรชนะ. (2560). การเสริมสร้างศักยภาพบิดามารดาในการเลี้ยงดูลูกเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพในวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 62(3), 201-210.

อภินดา ชัยมานะเดช. (2562). ปัจจัยทางจิตและสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมตามบทบาทของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 37(1), 34-42.

อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2562). ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อเศรษฐกิจชุมชน. วารสารรูสมิแล, 40(1), 95-99.

อาแว วาลี. (2562). การละหมาดกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของเยาวชนมุสลิมจังหวัดนราธิวาส. วารสารอัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 14(26), 1-14.

Abu Dawud, I. A. D. S. A. (1994). Sunan Abi Daud. J.1-2. Beirut: Dar al-Fikr.

Aini, N., Sugiati, Dana, M. A., Wahyudi & Ramadhani, S. (2020). At-Tarbiyah Sebagai Konsep Pendidikan dalam Islam. Jurnal Pendidikan Islam, 6(1), 88-104.

Al-Bukhari, A. A. M. I. (1989). Al-Adabul Mufrad. Damsyik: Darul Basyair Islamiyah.

Almuddin, M. H., Jamil, A. I. & Saari C. Z. (2016). Amalan Pendidikan Kanak-Kanak Dalam Islam. Journal of Islamic Educational Research, 1(1), 1-10.

Hamjah, S. H. (2016). Pendekatan Kaunseling Spiritual Menurut Al-Ghazali. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka.

Nasution, Z. (2019). Dasar dan Tujuan Pendidikan Islam dalam Konsep Alquran. Tarbiyah Islamiyah Journal, 9(2), 64-71.

Raffar, I. N. A. Z., Hamjah, S. H. & Ismail, A. (2019). Kefahaman Ibu Bapa Terhadap Kemahiran Keibubapaan Menurut Perspektif Islam. Asian Journal of Civilizational Studies, 1(1), 67-76.

Shamsu, L. S. (2018). Konsep Suruh dan Pukul Dalam Pentarbiahan Anak-Anak: Tinjauan Dalam Huraian Sunnah. Fakulti Usuluddin, Universiti Islam Sultan Sharif Ali. Brunei Darussalam: Universiti Islam Sultan Sharif Ali.