รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดทำแผนบทเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานสำหรับนักศึกษาครูช่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบ 2) พัฒนาเครื่องมือตามรูปแบบ และ 3) ประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดทำแผนบทเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานสำหรับนักศึกษาครูช่าง เก็บรวบรวมข้อมูลความเหมาะสม ของรูปแบบและคุณภาพของเครื่องมือตามรูปแบบ ได้แก่ เอกสารประกอบการสอน จากผู้ประเมิน จำนวน 5 คน ทดลองใช้รูปแบบและเครื่องมือตามรูปแบบกับนักศึกษาครูช่าง สาขาวิชาวิศวกรรม แมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จำนวน 19 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม แบบประเมินคุณภาพ แบบประเมินความสามารถ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกผลความก้าวหน้าในการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ และคะแนนมาตรฐานที (T-Score) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพของเอกสารประกอบการสอนอยู่ในระดับดี และ 3) ความสามารถในการจัดทำแผนบทเรียน อยู่ในระดับมาก นักศึกษาครูช่างมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด และความก้าวหน้า ในการเรียนของนักเรียนจากแผนบทเรียนของนักศึกษาครูช่างผ่านเกณฑ์ร้อยละ 40 ทุกแผนบทเรียน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิกา ทองพันธ์, สุธิดา ชัยชมชื่น, และจรัญ แสนราช. (2561). การใช้ระบบการเรียนโดยใช้กิจกรรมออนไลน์เป็นฐาน ตามรูปแบบ R2D2 บูรณาการกับการสร้างแผนที่ความรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามสมรรถนะครู. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 9(2), 1-12.
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2558). หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (5 ปี). สงขลา: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.
ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และการศึกษา. วารสารราชภัฏ สุราษฎร์ธานี, 4(2), 71-102.
ทิศนา แขมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจรัตน์ ราชฉวาง. (2561). ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสร้างเอกสารประกอบการสอน วิชาการบริหารจัดการการเรียนรู้และชั้นเรียน หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 30(107), 43-49.
พิจิตรา ทีสุกะ, และสุเทพ อ่วมเจริญ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(1), 135-147.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, และทัศนี บุญเติม. (2545). การเรียนการสอนที่มีวิจัยเป็นฐาน: ประมวลบทความ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาภรณ์ มาชัยวงศ์, สุทธิวรรณ ปิติภาคย์พงษ์, มงคล จิตรโสภิณ, และวิภารัตน์ แสงจันทร์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานในประเทศนิวซีแลนด์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
อีสเทิร์นเอเซีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(1), 12-22.
สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2547). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: คณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Patricio, E. R., Javier, F. R., Jorge, A., & Jorge, L. A. (2016). Moderating effect of learning styles on a learning management system’s success. Telematics and Informatics, 34(2017), 272-286.
Singh, R., Devika, Herrmann, C., Thiede, S., & Sangwan, S. K. (2019). Research-based Learning for Skill Development of Engineering graduates: An empirical study. In 9th Conference on Learning Factories 2019, Procedia Manufacturing 31 (2019), 323–329.