The การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนอักษรจีนของนักศึกษาวิชาโทภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนอักษรจีนของนักศึกษาวิชาโทภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนอักษรจีนของนักศึกษาวิชาโทภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุข้อผิดพลาดในการเขียนอักษรภาษาจีนของนักศึกษาวิชาโทภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาโทภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 11-034-239 ภาษาจีนระดับกลาง 1 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบการเขียนอักษรจีน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ข้อผิดพลาดในการเขียนอักษรจีนของนักศึกษาวิชาโทภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1) การเขียนเส้นขีด คือ การเขียนเส้นขาดหรือขีดขาดจากตัวอักษรที่ถูกต้อง พบว่ามีข้อผิดพลาดมากที่สุด รองลงมา ประเภทการเขียนส่วนประกอบผิด ขาดหรือเกิน และประเภทที่พบข้อผิดพลาดน้อยที่สุด คือ ประเภทการเขียนตัวอักษรแยกห่างออกจากกัน และ 2) การนำตัวอักษรอื่นมาเขียนแทนที่ ได้แก่ ประเภท การนำตัวอักษรที่มีความคล้ายคลึงกันมาเขียนแทนที่ พบว่ามีข้อผิดพลาดมากที่สุด รองลงมาประเภทการสร้างคำศัพท์ใหม่ขึ้นมาเอง และประเภทที่พบข้อผิดพลาดน้อยที่สุด คือการเขียนอักษรต่างกัน แต่เสียงใกล้เคียงกันหรือคล้ายคลึงกัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าปัญหาและสาเหตุของข้อผิดพลาดในการเขียนอักษรจีนเกิดจากนักศึกษาเขียนอักษรจีนมีเส้นขีดมาก นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีพื้นฐานในการเรียนภาษาจีน และภาษาจีนมีคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน ส่งผลให้ยากต่อการจดจำ และบางคำอ่านออกเสียงเหมือนกันแต่ความหมายและการเขียนแตกต่างกัน จึงทำให้นักศึกษาเกิดความสับสน
Article Details
References
จุฬารัตน์ คำน้อย, หลิวชู และจิ้นหลิง. (2561). การสร้างคลังข้อมูลและวิเคราะห์การเขียนตัวอักษรจีนผิดของนักศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษาสำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 11(2), 102-119.
นริศ วศินานนท์, และสุกัญญา วศินานนท์. (2562). การศึกษาปัญหาการเขียนอักษรจีนผิดที่พบบ่อยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารรามคำแหงฉบับมนุษยศาสตร์, 38(1), 85-100.
นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ. (2561). การศึกษาข้อผิดพลาดการเขียนอักษรจีนของผู้เรียนชาวไทย : กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 11(1), 283-314.
ภูเทพ ประภากร. (2559). การพัฒนาทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้หมวดนำตัวอักษรจีน. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 99-111.
ภัทราพร โชคไพบูลย์, สุธินี วงศ์วัฒนานุกุล, และ Xu Jinmei. (2017).การพัฒนาทักษะการออกเสียงสัทอักษรภาษาจีนกลาง. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 9(1),194.
รัฐกิตติ์ เลิศวิศวะ. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่นและอักษรจีนในภาษาจีน.วารสารวินทนิลทักษิณสาร, 12(2), 185-197.
วศิน พรหมสุรินทร์. (2562). ศึกษาความสามารถในการจดจำและแยกโครงสร้างตัวอักษรได้อย่างถูกต้อง.วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 4-6.
เว่ยหลาน ถัง, วรรณวิรัตน์ ตุงคะเวทย์, และทิวาพร อุดมวงษ์. (2563). ข้อผิดพลาดในการเขียนตัวอักษรแบบบอก ความหมายและเสียงในภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทยและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 28(2), 28-42.
หวัง เทียนซง. (2561). ปัญหาการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา 1573107 ภาษาจีนสำหรับการบริการด้านการบิน 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชปูถัมภ์. วารสารช่อพะยอม, 29(2), 123-138.
อมรรัตน์ มะโนบาล, และเตวิช เสวตไอยาราม. (2560). ความวิตกกังวลในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนระดับต้นที่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกัน. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 7(1), 33-50.
อารยา องค์เอี่ยม, และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย.วารสารวิสัญญีสาร, 44(1),36-42.
胡月 (Hu Yue). (2019). 泰国中学生汉字书写偏误分析[D];安阳师范学院;
孙艳芹 (Sun yan qin). (2019). 提高学生汉字书写水平的实践[J].农家参谋.