การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง พลังงานทดแทน ในจังหวัดนราธิวาสสำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง พลังงานทดแทน ในจังหวัดนราธิวาส สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง พลังงานทดแทน ในจังหวัดนราธิวาส สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง พลังงานทดแทนในจังหวัดนราธิวาส สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 169 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง พลังงานทดแทนในจังหวัดนราธิวาส สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม 2) แบบประเมินคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง พลังงานทดแทน ในจังหวัดนราธิวาส สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3) แบบทดสอบเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง พลังงานทดแทน ในจังหวัดนราธิวาส สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ต่อสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง พลังงานทดแทนในจังหวัดนราธิวาส สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X= 4.40, S.D. = 0.49) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X= 4.43, S.D. = 0.55)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2557) สืบค้นจาก https://www.dede.go.th/more_news.php?cid=34&filename=index
กระทรวงพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกพ.ศ. 2558 – 2579. สืบค้นจาก http://www.eppo.go.th/im ages/POLICY/PDF/AEDP2015.pdf
ชินวัจน์ งามวรรณากร. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เรื่อง ภาษาอังกฤษสำหรับนักสารสนเทศ (รายงานวิจัย). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ทิพภาภรณ์ ทนงค์. (2562). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง การเย็บตะเข็บผ้าพื้นฐานวิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). (วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร, กรุงเทพฯ.
นารีรัตน์ ศรีสนิท. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างคำสมาสสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์. วารสารวิจัยออนไลน์นวัตกรรมการศึกษา,2(1). 1-7
ปรเมศวร์ สิริสุรภักดี, ธเรศวร์เตชะไตรภพ, และบริบูรณ์ ชอบทำดี, (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพุทไธศวรรย์. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 4(1). 49-62 สืบค้นจาก file:///C:/Users/ASUS/Downloads/131649-Article%20Text-347240-1-10-2 018 0629.pdf
วิรไท สันติประภพ. (2560). นิยาม Thailand 4.0 คืออะไรไทยอยู่ตรงไหน จะสร้างคนที่ครบคน รับโลกใหม่อย่างไร. ไทยพับลิกา. สืบค้นจาก http://thaipublica.org/2017/02/veerathaithailand
ศักด์คิเรศ ประกอบผล. (2563). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แอดดี้โมเดลและแนวคิดของกาเย่. วารสารครุศาสตร์สาร, 14(1). 17-30 สืบค้นจาก http://edu journal.bsru.ac.th/storage/1023/02.pdf
สุไม บิลไบ. (2557). “การออกแบบและพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียโดยใช้ ADDIE Model.”. สืบค้นจาก https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/2014/12/addie_design_sumai.pdf.
Best J.W. (1977) Research in Education. (3rd) norfolk ma: allyn & bacon.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kurt, S. (2018).ADDIE Model: Instructional Design. Retrieved from https://educationaltechnology. net/the-addie-modelinstructional-design/