การพัฒนารูปแบบบริหารสถานศึกษาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) สังกัดเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

อัญญรัตน์ นาเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาบูรณาการหลักปรัชญาทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับครูโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ การบริหารสถานศึกษา บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับครูโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงพัฒนารูปแบบบริหารสถานศึกษา บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประชากรเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) ปีการศึกษา 2563 ที่สอนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา รวมทั้งหมดจำนวน 24 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับครู โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) 2) คู่มือการใช้รูปแบบ 3) แบบวัดความรู้ความเข้าใจด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง4) แบบประเมินความสามารถในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติงาน 5) แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารสถานศึกษา (THUMMI Model) ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการ 6 ขั้นตอน คือ (1) T= Teamwork ขั้นสร้างทีมงานเข้มแข็ง (2) H=Heart ขั้นหัวใจมุ่งมั่น (3) U=Union ขั้นร่วมแรงร่วมใจ (4) M=Making ขั้นดำเนินการ (5) M=Measurement ขั้นการวัดและประเมินผล และ (6) I=Improvement ขั้นการปรับปรุงและพัฒนา 2) ความรู้ ความเข้าใจของครู ก่อนและหลังการ ใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการใช้รูปแบบบริหารสถานศึกษาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติงานของครู อยู่ในระดับมากที่สุด 4) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ สรุปได้ดังนี้ 4.1) คุณภาพของผู้เรียน ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้ 4.1.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ย 80.90 ซึ่งสูงขึ้น และก่อนการใช้รูปแบบปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ย 68.74 4.1.2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ย 99.72 ซึ่งสูงขึ้น และก่อนการใช้รูปแบบ ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ย 95.20 4.2) ความพึงพอใจในการใช้รูปแบบบริหารสถานศึกษาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
นาเมือง อ. (2023). การพัฒนารูปแบบบริหารสถานศึกษาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) สังกัดเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 280–314. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/257194
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่ 2). พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). ปจจัยเกื้อหนุนตอการจัดการศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การจัดการเรียนรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: ชุมนุม

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กัญญ์ชิสา ทุมมาพันธ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหาร จัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

เกษม วัฒนชัย. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา. สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุคพอยท์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 19). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับ ลิสชิ่ง.

ณัฐวุฒิ สังศิลลา. (2545). ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ 2544. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพวาณี วินิจกำธร. (2548). การปลูกฝังค่านิยมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการตามแนวคิดของบลูมและแรทส์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนา โด่งพิมาย. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

ธีระ รุญเจริญ. (2545). ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ: ศักยภาพเพื่อการเรียนรู้, กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ด้านการศึกษา. สืบค้นจาก http:// www.sufficiencyeconomy.com

ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). การขับเคลื่อนด้านการศึกษา. สืบค้นจาก http://www.sufficiency.nida.ac.th/

เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

เพ็ญณี แนรอท. (2552). กระบวนการถ่ายทอดความรู้โดยวัฒนธรรมท้องถิ่นและการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ ในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.

สุวรรณ พิณตาณพท์, และกาญจนา วัชนสุนทร. (2556). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็นดูมีเดียพับซิ่ง.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2550). การจัดการเรียนการสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 20(2), 5-10.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักผู้ตรวจสอบราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 8. (2550). การติดตามประเมินผลการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา. เอกสารอัดสำเนา.

สำนักผู้ตรวจสอบราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 11. (2550). การติดตามประเมินผลการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา. เอกสารอัดสำเนา.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คูมือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์.

หวน พินธุพันธ์. (2548). การบริหารโรงเรียน.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อภิญญา แก้วชื่น. (2550). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.