ปัญหาและแนวทางการพัฒนากระบวนการเข้ารับและฉีดวัคซีนของประชาชนมุสลิมในจังหวัดนราธิวาสเพื่อลดภาวะวิกฤตของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในคลัสเตอร์ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหากระบวนการเข้ารับและฉีดวัคซีนของประชาชนมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการเข้ารับและฉีดวัคซีนของประชาชนมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส เพื่อลดภาวะวิกฤตของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในคลัสเตอร์ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์อัลกุรอาน หะดีษ หนังสือ ตำราวิชาการ คำฟัตวา (คำวินิจฉัย) และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ซึ่งเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา วิทยากรอิสลามศึกษา ครูสามัญศึกษา บุคลากรทางการแพทย์ ข้าราชการ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการประจำมัสยิด คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และประชาชนมุสลิมทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จำนวน 400 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม หาค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.99 นำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิธีการแบบสัมภาษณ์ เชิงเจาะลึก ด้วยวิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน รวมจำนวนทั้งหมด 410 คน แล้ววิเคราะห์ด้วยกระบวนการเชิงอุปนัย หาข้อสรุป และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1) เชิงปริมาณ ด้านปัญหากระบวนการเข้ารับและฉีดวัคซีนของประชาชนมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.96, S.D. = 1.03) และด้านแนวทาง การพัฒนากระบวนการเข้ารับและฉีดวัคซีนของประชาชนมุสลิมในจังหวัดนราธิวาสเพื่อลดภาวะวิกฤตของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในคลัสเตอร์ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.04, S.D. = 1.01) 2) เชิงคุณภาพ จากการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาด้านการจัดการต่อการเข้าถึงกระบวนการเข้ารับและฉีดวัคซีนของผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่ พบว่า ควรส่งเสริมบริการ ให้ความรู้และการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน จัดสรรและบริหารจัดการวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานควบคู่กับการศึกษาคำฟัตวา (คำวินิจฉัย) จากองค์กรหรือสภาความร่วมมืออิสลามระหว่างประเทศที่ไม่ขัดกับหลักการทางศาสนาอิสลาม รวมถึงจัดหน่วยบริการรับฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ในรูปแบบการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง ครอบคลุมและเพียงพอต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2564). จำนวนราษฏรจังหวัดนราธิวาสจากสำนักบริหารการทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2565 จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf
กรมสุขภาพจิต. (2564). แนวทางการสร้างแรงจูงใจในกลุ่มที่ยังไม่เข้ารับวัคซีนโควิด 19. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/937160
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ฐานข้อมูล MOPH Immunization Center (IC). สืบค้นจาก https://mohpromt.moph.go.th/mpc/
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การ ระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การ ระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard
ขนิษฐา ชื่นใจ, และบุฏกา ปัณฑุรอัมพร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac. th/MMM/IS/twin-9/6214154037.pdf.
พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด -19 และข้อกังวล ในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 47-57.
ไมลา อิสสระสงคราม, และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 19(2), 56-67.
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). ไข้ข้อสงสัยวัคซีน COVID-19. สืบค้นจาก https://www.chula.ac.th
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) (2564). สรุปแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการวัคซีนเชิงรุกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นจาก http://www.sbpac. go.th/?p=76185
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. (2563). (ร่าง) นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2565. นนทบุรี: สถาบันวัคซีนแห่งชาติ.
สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2563). องค์การอนามัยโลกประกาศ COVID -19 เป็นชื่อทางการโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2020/02/ 18488
สำนักจุฬาราชมนตรี. (2564). การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19).
กรุงเทพฯ: สำนักจุฬาราชมนตรี.
สำนักจุฬาราชมนตรี. (2564). มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ว่าด้วยแนวทางและวิถีปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ปัจจุบันและการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) (ฉบับที่ 7/ 2564). สืบค้นจาก https://www.skthai.org/th.5
สุรัคเมธ มหาศิริมงคล. (2563). ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงในการเข้าถึงวัคซีนเพื่อควบคุมโรคระบาดทั่วโลกของประเทศไทย: กรณีศึกษา วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. รายงานการฝึกอบรมตามหลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 12 ปี 2563. กรุงเทพฯ: สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา. (2563). คู่มือเผชิญโรคระบาด คำแนะนำเนื่องในวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19). ปัตตานี: สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี.
Ahmad ibn Hanbal. (2009). Musnad Imam Ahmad ibn Hanbal. (1st ed). Beirut: Dar al-Kutub al-Ilmiyah.
Cronbach, L., J. (1970). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.