โมเดลความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 300 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับตามแนวทางของลิเคิร์ท การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวัด มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม กับวัตถุประสงค์ ระหว่าง 0.67-1.00 และตรวจสอบความเที่ยงจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค เท่ากับ 0.934 โมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ตัวแปรแฝง และ 15 ตัวแปรสังเกตได้ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดมีค่าความเชื่อมั่นขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.81-0.85 และค่าความแปรปรวนเฉลี่ยขององค์ประกอบ อยู่ระหว่าง 0.57-0.63 โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ (X2/df = 1.74, GFI = 0.95, CFI = 0.98, RMR = 0.012, RMSEA = 0.034) โดยพบว่า แรงจูงใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ การจัดการศึกษาสู่ความเป็นผู้ประกอบการ และคุณลักษณะในการเป็นผู้ประกอบการ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ ด้วยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.50, 0.52 และ 0.38 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า แรงจูงใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ และการจัดการศึกษาสู่ความเป็นผู้ประกอบการ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก ต่อคุณลักษณะในการเป็นผู้ประกอบการ ด้วยขนาดอิทธิพล 0.45 และ 0.48 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มภารกิจทะเบียนนิสิตและบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2565). สถิตินิสิตปัจจุบัน (จำแนกตามสาขา/ชั้นปี). สืบค้นจาก https://misreg.tsu.ac.th/stat/search_all.jsp?lang=th
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2562). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จริยา กอสุขทวีคูณ. (2561). การศึกษาแรงจูงใจและความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.
ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการและสร้างธุรกิจดิจิทัลใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 36(2), 31-59.
พรรณสิยา นิธิกิตติ์สุขเกษม, และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2561). โมเดลความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียนโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 7(1), 146-161.
พัชรินทร์ เพชรช่วย, ปลื้มใจ ไพจิตร, และรัตติยาภรณ์ รอดสีเสน. (2564). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษา อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 8(1), 107-124.
ภัทรานิษฐ์ สรเสริมสมบัติ. (2563). คุณลักษณะที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ: กรณีศึกษา นักศึกษาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 15(2), 117-142.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
อนงค์ รุ่งสุข. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นครปฐม.
อโนมา ภาคสุทธิ, ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, และประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2563). การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 11(2), 75-85.
Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.
Che Embi, N.A., Jaiyeoba, H.B., & Yussof, S.A. (2019). The Effects of Students’ Entrepreneurial Characteristics on their Propensity to Become Entrepreneurs in Malaysia. Education and Training, 61(7), 1020-1037.
Gilad, B., & Levine, P. (1986). A Behavioral Model of Entrepreneurial Supply. Journal of Small Business Management, 24(4), 45-54.
Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California, CA: Sage
Hou, F., Su, Y., Lu, M., & Qi, M. (2019). Model of the Entrepreneurial Intention of University Students in the Pearl River Delta of China. Frontiers in Psychology, 10(1), 1-16.
Luc, P. T., Lan, X.P., & Trang, T. B. (2021). Personality Traits and Social Entrepreneurial Intention: The Mediating Effect of Perceived Desirability and Perceived Feasibility. The Journal of Entrepreneurship, 30(1), 56-80.
Mei, H., Lee, C-H., & Xiang, Y. (2020). Entrepreneurship Education and Students' Entrepreneurial Intention in Higher Education. Education Sciences, 10(1), 1-18.
Mónico, L., Carvalho, C., Nejati, S., Arraya, M., & Parreira, P. (2021). Entrepreneurship Education and its Influence on Higher Education Students’ Entrepreneurial Intentions and Motivation in Portugal. Brazilian Administration Review, 18(3), 1-27.
Shapero, A., & Sokol, L. (1982). The Social Dimensions of Entrepreneurship, In C. Kent, D. Sexton, and K. H. Vesper (eds.) The Encyclopedia of Entrepreneurship. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.