ความรู้ การรับรู้ผลกระทบ และแนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ การรับรู้ผลกระทบ และแนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้นปีที่ 1 – 4 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 179 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2556 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบทดสอบความรู้ประชาคมอาเซียน ประเทศสมาชิก และวิชาชีพพยาบาล ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 3) แบบสอบถามการรับรู้ผลกระทบการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 และ 4) แบบสอบถามแนวทางการเตรียมความพร้อมต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาติดตามข้อมูลประชาคมอาเซียน คิดเป็นร้อยละ 97.8 ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลนานๆ ครั้ง ร้อยละ 73.1 โดยได้รับข้อมูลจากการประชาสัมพันธ์ของคณะ ร้อยละ 88.3 นักศึกษามีประสบการณ์เข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียนที่จัดโดยคณะ ร้อยละ 97.2 และจัดโดยหน่วยงานภายนอก ร้อยละ 9.5 นักศึกษามีความรู้อยู่ในระดับดีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.0 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.14 คะแนน (S.D. = 2.77) นักศึกษารับรู้ผลกระทบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 79.7 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 คะแนน (S.D. = .41) สำหรับแนวทางในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษาส่วนใหญ่ ได้แก่ การพัฒนาทักษะด้านภาษาในระดับที่สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา คิดเป็นร้อยละ 81 รองลงมาได้แก่ การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน ร้อยละ 74.3 การยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่าง เคารพความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ร้อยละ 49.7 และการศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพ ร้อยละ 24.6
คำสำคัญ : การเตรียมความพร้อม การรับรู้ ความรู้ นักศึกษาพยาบาล ประชาคมอาเซียน
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาติดตามข้อมูลประชาคมอาเซียน คิดเป็นร้อยละ 97.8 ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลนานๆ ครั้ง ร้อยละ 73.1 โดยได้รับข้อมูลจากการประชาสัมพันธ์ของคณะ ร้อยละ 88.3 นักศึกษามีประสบการณ์เข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียนที่จัดโดยคณะ ร้อยละ 97.2 และจัดโดยหน่วยงานภายนอก ร้อยละ 9.5 นักศึกษามีความรู้อยู่ในระดับดีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.0 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.14 คะแนน (S.D. = 2.77) นักศึกษารับรู้ผลกระทบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 79.7 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 คะแนน (S.D. = .41) สำหรับแนวทางในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษาส่วนใหญ่ ได้แก่ การพัฒนาทักษะด้านภาษาในระดับที่สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา คิดเป็นร้อยละ 81 รองลงมาได้แก่ การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน ร้อยละ 74.3 การยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่าง เคารพความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ร้อยละ 49.7 และการศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพ ร้อยละ 24.6
คำสำคัญ : การเตรียมความพร้อม การรับรู้ ความรู้ นักศึกษาพยาบาล ประชาคมอาเซียน
Article Details
How to Cite
คงคุณ พ. (2015). ความรู้ การรับรู้ผลกระทบ และแนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 2(2), 27–38. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/52686
Section
Research Article