การประเมินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต สำหรับใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจและปรับปรุงการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 12 คน ครูผู้สอนจำนวน 139 คน นักเรียนจำนวน 625 คน และผู้ปกครอง จำนวน 625 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับนักเรียนมีความเชื่อมั่น 0.94, สำหรับผู้ปกครองมีความเชื่อมั่น 0.80 และสำหรับครูมีความเชื่อมั่น 0.80 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1) ด้านบริบท พบว่า โรงเรียนมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านเกณฑ์ความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โครงสร้างของกิจกรรมมีการจัดกิจกรรม สาระสำคัญของกิจกรรม คุณสมบัติของครูผู้สอน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ผ่านเกณฑ์ความเหมาะสมในระดับมาก 3).ด้านกระบวนการ พบว่า การดำเนินการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล ผ่านเกณฑ์ความเหมาะสมในระดับมาก 4) ด้านผลผลิต พบว่า ทั้ง 5 สมรรถนะสำคัญของนักเรียน ได้แก่ สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในการคิด สมรรถนะที่ 3 ความสามารถในการแก้ปัญหา สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และสมรรถนะที่ 5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ผ่านเกณฑ์ความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คำสำคัญ : การประเมินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
Article Details
How to Cite
นพคุณ เ., ธรรมอภิบาล อินทนิน ว., & กระโหมวงศ์ เ. (2016). การประเมินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1), 1–11. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/52693
Section
Research Article