ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1

Main Article Content

จิราภรณ์ บุตรด้วง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 2) คุณภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2556 จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ได้ค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า        สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าปัจจัยด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน ด้านอาคารสถานที่ ด้านงบประมาณ และด้านชุมชน ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยภาพรวมมีคุณภาพในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการนิเทศติดตามผล ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร และด้านการวิจัยการเรียนรู้ มีคุณภาพการบริหารอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการบริหารงานวิชาการทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : ความสัมพันธ์ คุณภาพการบริหารงานวิชาการ ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

Article Details

How to Cite
บุตรด้วง จ. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1), 12–23. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/52694
Section
Research Article