แนวทางพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่
และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของงานประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .949 มีการจัด
สนทนากลุ่ม จำนวน 32 คน จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มผู้บริหารและกรรมการสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 5 คน กลุ่มอาจารย์จำนวน 5 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่จำนวน 10 คน และกลุ่มนักศึกษาจำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่า
ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติงานด้านบุคลากรมากกว่าด้านอื่น รองลงมาคือด้านการสื่อสาร
เพื่อการประชาสัมพันธ์ ด้านการวางแผน และด้านการประเมินผล ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีดังนี้ 1. ด้านการวางแผน จะต้องใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม ในกระบวนการคิด
การวางแผนงาน การปฏิบัติงานกับบุคลากร นักศึกษาและหน่วยงานภายนอก 2. ด้านการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมสร้างเครือข่าย ความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างงานประชาสัมพันธ์กับบุคลากร นักศึกษา และหน่วย
งานภายนอก 3. ด้านบุคลากร พัฒนาและสนับสนุนโดยการจัดอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในด้านการประชาสัมพันธ์ และ 4. ด้านการประเมินผล ใช้หลักการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การวัดและประเมินผลที่มีมีประสิทธิภาพจะให้ข้อมูลที่ถูก
ต้อง เที่ยงตรง สำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเป็นข้อมูลย้อนกลับที่จะช่วยติดตาม กำกับ ดูแล ความก้าวหน้าของการปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่องคำสำคัญ : งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ แนวทางการพัฒนา
และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของงานประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .949 มีการจัด
สนทนากลุ่ม จำนวน 32 คน จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มผู้บริหารและกรรมการสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 5 คน กลุ่มอาจารย์จำนวน 5 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่จำนวน 10 คน และกลุ่มนักศึกษาจำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่า
ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติงานด้านบุคลากรมากกว่าด้านอื่น รองลงมาคือด้านการสื่อสาร
เพื่อการประชาสัมพันธ์ ด้านการวางแผน และด้านการประเมินผล ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีดังนี้ 1. ด้านการวางแผน จะต้องใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม ในกระบวนการคิด
การวางแผนงาน การปฏิบัติงานกับบุคลากร นักศึกษาและหน่วยงานภายนอก 2. ด้านการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมสร้างเครือข่าย ความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างงานประชาสัมพันธ์กับบุคลากร นักศึกษา และหน่วย
งานภายนอก 3. ด้านบุคลากร พัฒนาและสนับสนุนโดยการจัดอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในด้านการประชาสัมพันธ์ และ 4. ด้านการประเมินผล ใช้หลักการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การวัดและประเมินผลที่มีมีประสิทธิภาพจะให้ข้อมูลที่ถูก
ต้อง เที่ยงตรง สำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเป็นข้อมูลย้อนกลับที่จะช่วยติดตาม กำกับ ดูแล ความก้าวหน้าของการปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่องคำสำคัญ : งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ แนวทางการพัฒนา
Article Details
How to Cite
มะเซ็ง อ. (2014). แนวทางพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 1(2). Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/53493
Section
Research Article