การศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ 2) เปรียบเทียบคะแนนความเข้าใจมโนมติเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียน
รู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม จังหวัดปัตตานี จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการ
จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) แบบทดสอบ มโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องแรง และกฎการเคลื่อนที่ คำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค (Alpha Coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหา
ค่าร้อยละ และ t – test ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเข้าใจมโนมติ เรื่องแรง และกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนเปรียบเทียบก่อนและหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้นั้น มีระดับความเข้าใจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ ก่อนเรียนนัก
เรียนมีระดับความเข้าใจมโนมติหลายระดับมีตั้งแต่ระดับคลาดเคลื่อนมากไปจนถึงระดับที่มีความเข้าใจที่สมบูรณ์ หลังเรียนมีความเข้าใจมโนมติระดับคลาดเคลื่อนลดลง และมีความเข้าใจในระดับที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มีค่าร้อยละความเข้าใจในระดับ
สมบูรณ์ในแต่ละมโนมติหลัก ดังนี้ 1) แรง 78.57, 2) การหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกัน 40.00, 3) กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน39.78, 4) น้ำหนัก 57.14, 5) กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน 25.72, 6) แรงเสียดทาน 20.00 และ 7) การนำกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันไปใช้ 32.86 และเปรียบเทียบคะแนนความเข้าใจมโนมติ เรื่องแรง และกฎการเคลื่อนที่ คะแนนของนักเรียน
หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าคะแนนก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจมโนมติเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่
มากขึ้น คำสำคัญ : มโนมติที่คลาดเคลื่อน แรงและกฎการเคลื่อนที่ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
รู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม จังหวัดปัตตานี จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการ
จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) แบบทดสอบ มโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องแรง และกฎการเคลื่อนที่ คำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค (Alpha Coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหา
ค่าร้อยละ และ t – test ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเข้าใจมโนมติ เรื่องแรง และกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนเปรียบเทียบก่อนและหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้นั้น มีระดับความเข้าใจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ ก่อนเรียนนัก
เรียนมีระดับความเข้าใจมโนมติหลายระดับมีตั้งแต่ระดับคลาดเคลื่อนมากไปจนถึงระดับที่มีความเข้าใจที่สมบูรณ์ หลังเรียนมีความเข้าใจมโนมติระดับคลาดเคลื่อนลดลง และมีความเข้าใจในระดับที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มีค่าร้อยละความเข้าใจในระดับ
สมบูรณ์ในแต่ละมโนมติหลัก ดังนี้ 1) แรง 78.57, 2) การหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกัน 40.00, 3) กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน39.78, 4) น้ำหนัก 57.14, 5) กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน 25.72, 6) แรงเสียดทาน 20.00 และ 7) การนำกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันไปใช้ 32.86 และเปรียบเทียบคะแนนความเข้าใจมโนมติ เรื่องแรง และกฎการเคลื่อนที่ คะแนนของนักเรียน
หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าคะแนนก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจมโนมติเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่
มากขึ้น คำสำคัญ : มโนมติที่คลาดเคลื่อน แรงและกฎการเคลื่อนที่ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
Article Details
How to Cite
เจ๊ะเหลาะ ไ., เดชนะ อ., & เสนาสวัสดิ์ ส. (2015). การศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 2(1). Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/53503
Section
Research Article