ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4

Main Article Content

สุภารัตน์ สมศักดิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริหาร จำนวน 26 คน และครูผู้สอน จำนวน 291 คน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์การในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงสามลำดับแรก คือ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเอื้ออาทร และด้านความมีคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
สำหรับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงสามลำดับแรก คือ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และ ด้านการวัดผลประเมินผลการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด การวิจัยใน
ชั้นเรียน และการนิเทศ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก วัฒนธรรมองค์การในสถานศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าวัฒนธรรมองค์การในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับการบริหาร
งานวิชาการด้านหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนวัฒนธรรมองค์การในสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการด้านอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กัน

Article Details

How to Cite
สมศักดิ์ ส. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 3(2), 1–12. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/61689
Section
Research Article