การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดยใช้การสอนแบบแผนที่ความคิดร่วมกับเทคนิคการจำนีมอนิคส์กับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

คณิศร์ณิชา สมทรง
วรรณะ บรรจง
จิตเกษม หลำสะอาด

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการสอนแบบแผนที่ความคิดร่วมกับเทคนิคการจำนีมอนิคส์กับการสอนแบบปกติ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเมื่อได้รับการสอน
แบบแผนที่ความคิดร่วมกับเทคนิคการจำนีมอนิคส์ และ 3) เปรียบเทียบความคงทนในการจำการสอนแบบแผนที่ความคิดร่วมกับเทคนิคการจำนีมอนิคส์กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 60 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เพื่อเข้ากลุ่มทดลองและ
กลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิดร่วมกับเทคนิคการจำนีมอนิคส์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเชื่อมั่น 0.71 ซึ่งใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย
ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทดสอบความคงทนในการจำโดยใช้สถิติทดสอบ t
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการสอนแบบแผนที่ความคิดร่วมกับเทคนิคการจำนีมอนิคส์ สูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนแบบแผนที่ความคิด
ร่วมกับเทคนิคการจำนีมอนิคส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความคงทนในการจำการสอนแบบแผนที่ความคิดร่วมกับเทคนิคการจำนีมอนิคส์ สูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
สมทรง ค., บรรจง ว., & หลำสะอาด จ. (2016). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดยใช้การสอนแบบแผนที่ความคิดร่วมกับเทคนิคการจำนีมอนิคส์กับการสอนแบบปกติ. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 3(2), 13–23. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/61690
Section
Research Article