กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการฝึกอบรมพนักงานในองค์การ

Main Article Content

เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการฝึกอบรมพนักงานในองค์การ โดยส่วนแรกจะกล่าวถึง ความหมาย องค์ประกอบของเครือข่ายการเรียนรู้ ส่วนที่สองเป็นการ
ทบทวนทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่(Andragogy) และทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้(Constructivism) และสรุปสุดท้ายเป็นการแสดงให้เห็นถึงกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการฝึกอบรมพนักงาน ซึ่งจะนำทฤษฎีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้
ทั้งนี้จะพบว่าการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการฝึกอบรม ควรจะให้ผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วมโดยตรงกับกิจกรรมโต้ตอบ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ในกลุ่มเครือข่าย ซึ่งความหลากหลายของทักษะและประสบการณ์ของสมาชิกในเครือข่าย
นั้นเป็นจุดเด่นที่สำคัญของเครือข่าย โดยที่ความหลากหลายในเครือข่ายนั้น คือการมีบุคคลที่มีทักษะแตกต่างกันหลายระดับตั้งแต่รู้น้อยจนถึงรู้มาก การที่บุคคลในเครือข่ายมีประสบการณ์แตกต่างกันคนที่มีประสบการณ์น้อยสามารถเรียนรู้ได้จาก
คนที่มีทักษะประสบการณ์มากกว่าตน ส่วนคนที่มีประสบการณ์มากกว่าคนอื่นจะเกิดทักษะและความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการได้ช่วยเหลือและอธิบายให้กับผู้อื่น การเรียนรู้ในเครือข่ายนั้นจะเกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อมีการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Learning of
Transfer) คือ การที่ผู้เรียนรู้สามารถนำเอาความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติใหม่ที่เกิดจากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่จะยกระดับทักษะความสามารถในการทำงานได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งต้องมีการ
ปรับปรุงทักษะ ความรู้ให้ทันสมัยทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยมีเครือข่ายการเรียนรู้ที่สนับสนุนให้เกิดการแบ่งปัน ถ่ายโอนความรู้และกระจายความรู้ในองค์การ โดยเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในองค์การต่อไป

Article Details

How to Cite
พันธุ์ไทย เ. (2016). กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการฝึกอบรมพนักงานในองค์การ. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 3(2), 82–91. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/61724
Section
Academic articles