การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนด้วยการผลิตข้าวซ้อมมือ กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโคกอิฐ-โคกใน หมู่ 2 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส Sufficiency Economy Development of the Community with Production of Brown Rice A Case Study of Ban Khok-It Khok-Nai

Main Article Content

chamchuri chunphun

Abstract

บทคัดย่อ
    ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกอิฐ-โคกใน 2) ศึกษาความคิดของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกอิฐ-โคกใน เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง 3) ศึกษากิจกรรมการรวมกลุ่มของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกอิฐ-โคกใน 4) ศึกษาแนวคิดของบุคคลสำคัญในท้องถิ่นระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด อันที่จะแสวงหาแนวทางสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกอิฐ-โคกใน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโคกอิฐ-โคกใน บ้านโคกอิฐ-โคกในหมู่ที่ 2 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ ผู้วิจัยได้ร่างแบบสอบถาม เป็น 4 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่ 1) เกี่ยวกับ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร แบบสอบถามที่ 2) เกี่ยวกับแนวคิดกลุ่มบุคคลสำคัญในท้องถิ่น แบบสอบถามที่ 3) การสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการผลิตข้าวซ้อมมือของกลุ่ม และแบบสอบถามที่ 4) แนวความคิดเห็นของกลุ่มแม่บ้านเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง จึงนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านตรวจสอบความถูกต้อง และนำมาปรับปรุงแก้ไข แล้วได้นำไปทดลองใช้กับกลุ่มแม่บ้าน (บ้านบางน้อย) เพื่อทดสอบความเข้าใจของคำถาม และความชัดเจนของข้อคำถาม แล้วจึงนำมาเก็บข้อมูลจริง
    ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตข้าวซ้อมมือ เป็นเพศหญิง มีอายุ 39-48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก และมีการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทำสวน เป็นอาชีพเสริม กิจกรรมการรวมกลุ่มในการเพื่อผลิตข้าวซ้อมมือ มีกรรมวิธีในการผลิต คือ 1) ข้าวเปลือกที่ผ่านการทำความสะอาดโดยการร่อนเอาเมล็ดข้าวลีบ และสิ่งเจือปนออกมาตากแดด 1 แดด เพื่อลดความชื้นจนเมล็ดข้าวแห้งเหมาะสำหรับนำไปสี 2) นำข้าวเปลือกไปสีด้วยเครื่องสีข้าว จะได้ข้าวสารที่ปนด้วยแกลบและกาบข้าว 3) นำข้าวสารใส่กระดังฝัด แล้วโรยโดยใช้ลมเป่าให้แกลบออก 4) นำข้าวสารไปร่อนในกระดังอีกครั้ง เพื่อให้กากข้าวออก 5) นำข้าวสารไปตำด้วยครกกระเดื่อง 6) นำข้าวสารที่ได้ไปร่อนด้วยมุ้งตาข่ายพลาสติกเพื่อแยกส่วนที่เป็นรำข้าวออก 7) นำข้าวสารมาเลือกกากอีกครั้ง 8) นำไปบรรจุถุงพลาสติก 9)นำมาปิดปากถุงด้วยเครื่องซีลไฟฟ้า หรือเครื่องซีลสุญญากาศ  กลุ่มแม่บ้านฯ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความประหยัด ความเป็นอยู่ไม่ฟุ้งเฟ้อ อาศัยการพึ่งพาตนเอง และมีการจัดกิจกรรมการร่วมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพ และสร้างความ สามัคคีในชุมชน  และควรได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆในเรื่องการตลาดการจำหน่ายสินค้า จัดหาสถานที่จัดสินค้า และขยายตลาดเพิ่มขึ้น และสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ ที่เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เป็นอาชีพที่มั่นคงของชุมชนต่อไป
คำสำคัญ: การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชน ข้าวซ้อมมือ

Abstract
    The objectives of this study were to explore the overall of village economy development of Khok-It, Khok-Nai village to study the economy and social states of the housewife members, to study the opinion of the group’s opinion about sufficiency economy development, to study the activities of groups, and to study the concept of important people in the village, district, and province level to find the supporting ways to the members’ activities. This research is qualitative research and quantitative research. Data was collected through 4 copies of questionnaires. Researcher continually interviewed with member groups, and important involving people in the village. The data was analyzed by percentage, and qualitative data synthesize. This study will be useful for other villages to create brown rice.
    The results found that the Khok-It, Khok-Nai housewife group’s members were all female, mostly aging between 39-48 years old. Most of their educational levels were primary school, and had no education background. Their main occupations are farmers. The methods of brown rice production of this group member will be started from when the group buy paddy from other members. The lean rice and other contaminated objects will be cut out by hovering. The rice will be dry by direct sunlight to reduce moisture until it is ready to grind by rice grinder. The obtained product will be rice, husk, and rice waste. Get rid of husk and rice waste by hovering, or blow the husk out from the rice and hover the rice again to get rid of the waste. Grind the rice by mortar. Rice must be grinded by mortar. Hover the grinded rice by plastic net to separate the rice bran before packaging. Close the package by electronic sealing machine, or vacuum sealing machine.    
    The opinion of the member groups about sufficiency economy development means to live on the concepts of saving live. There is promotion to support villagers to have additional occupation rather than farmers. The additional occupations may be vegetable bedding, raise the animals, gardening, using the land for the highest benefits. The village can rely by themselves, not others. There are mutual activities for their harmony in the village.  The concepts of the important people in the village are about the opinion of marketing promotion, or selling brown rice found that the appropriate market places are souvenirs shops, arrange village economic products exhibition center, shopping mall, in Malaysia, and also advertising, or information should be supported by involving organization.




Article Details

How to Cite
chunphun, chamchuri. (2022). การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนด้วยการผลิตข้าวซ้อมมือ กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโคกอิฐ-โคกใน หมู่ 2 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส Sufficiency Economy Development of the Community with Production of Brown Rice A Case Study of Ban Khok-It Khok-Nai. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 9(1). Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/79639
Section
Research Article