การสังเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

Kanniga Phetnui
Prachoom Rodprasert
Niran Chullasap

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ตัวแปรสังเกตได้และตัวชี้วัดของปัจจัยสาเหตุและประสิทธิผลของโรงเรียนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และขั้นตอนที่ 2การสังเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปร โดยใช้แบบสอบถามซึ่งมี  6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โครงสร้างการบริหารงานและแผนงานโครงการของโรงเรียน 2) วัฒนธรรมโรงเรียน 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน 4) พฤติกรรมการสอนของครู5) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และ 6) ชุมชนและสิ่งแวดล้อม และประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 492 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้น  ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โครงสร้างการบริหารงานและแผนงานโครงการของโรงเรียน 2) วัฒนธรรมโรงเรียน 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน 4) พฤติกรรมการสอนของครู 5) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และ 6) ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ส่วนประสิทธิผลของโรงเรียน ประกอบด้วย ความรู้ความสามารถของนักเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ความพึงพอใจในงานของครู และความพึงพอใจของชุมชน 2. องค์ประกอบด้านวัฒนธรรมโรงเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ส่วนองค์ประกอบด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม โครงสร้างการบริหารงานและแผนงานโครงการของโรงเรียน และพฤติกรรมการสอนของครูส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุณา ภู่มะลิ. (2556). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาคตะวันออก.

วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

กษมาพร ทองเอื้อ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จักรแก้ว นามเมือง. (2555). ลักษณะการสอนที่ดี. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ ฉบับพิเศษ. 36-37.

เฉลิมชัย อ้อเสถียร. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลาง. วารสารเซนต์จอห์น. 15(17), 34-51.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, เรชา ชูสุวรรณ, นินาวาลย์ ปานากาเซ็ง, และอ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2551). การพัฒนาคุณภาพ

การจัดการศึกษาตามวิถีอิสลามในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพื่อบูรณภาพสังคมในสามจังหวัด

ชายแดนภาคใต้. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ, และอนุศักดิ์ ตั้งปณิธานวัฒน์. (2553). การส่งเสริมและพัฒนา

นวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสามจังหวัด

ชายแดนภาคใต้. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชวน ภารังกูล. (2552). นวัตกรรมบริหารโรงเรียนชายแดนภูมิภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชำนิ ยิ่งวัฒนา. (2556). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขนาดเล็ก

ที่มีครูไม่ครบชั้นในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 13(1).61-77

ถาวร เส้งเอียด. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิฆัมพร สมพงษ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, เอกรินทร์ สังข์ทอง, และเรชา ชูสุวรรณ. (2559). การบริหารสถานศึกษา

ในสังคมพหุวัฒนธรรม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 14(1), 97-107.

ธนากร โชติพรม. (2551). สงครามทางยุทธศาสตร์การก่อความไม่สงบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองอุปกรณ์สถาบัน

วิชาการทหารบกชั้นสูง.

นฤทธิ์ แสงสุขสว่าง. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของโรงเรียน สังกัด

กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นูรมาน จินตารา, สุรชัย ไวยวรรณจิตร, นภดล อนันทอภิพงษ์, รุ่งโรจน์ ชอบหวาน, และวรพงษ์ เจริญวงศ์.

(2555). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและวินัยของเด็กและเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปัตตานี ยะลา

นราธิวาส. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและหราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

พิไลวรรณ แตงขาว. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูง

สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

(2). 82-95.

วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพัฒนา

พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุนีรัตน์ เอี่ยมประไพ. (2556). การศึกษาประสิทธิผลของการประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบระดับชั้นลดหลั่นเชิงเส้น. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์

ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(3). 1-10.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการบริหารจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. (2560). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของ

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ระดับประถมศึกษาปีที่ 6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาปัตตานี เขต 1.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2558). รายงานสรุปผลการประเมิน

คุณภาพภายนอกรอบสามของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 12. (2550). เสียงสะท้อนจากครูใต้. ยะลา: สำนักผู้ตรวจราชการ

ประจำเขตตรวจราชการที่ 12.

อัญชนา พานิช. (2550). องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฎ. วิทยานิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อารีผีน เทพลักษณ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Bass, B.M. (1985). Leadership and performance Beyond Expectations. New York: Free Press.

Cole, P.G., & Chan, L. (1994). Teaching Principle and Practice Sidney. Australia: Prentice Hall

of Australia pty Ltd.

Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (2001). Education Administration : Theory-Research Practice. (6th ed).

New York: McGraw-Hill.

Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (2013). Educational Administration. New York: McGraw-Hill.

Lee, J., & Shute, V. (2010). Personal and Social-Contextual Factors in K-12 Performance. An

Integrative Perspective on Student Learning. Educational Psychologist. 45(3). 185-202.

Lunenburg, F.C., & Ornstien, A.G. (2000). Educational Administration: Concept and Practice.

(3rd ed). New York: Maple - Vailbook.

Marley, L.W. (2003). Effective Leadership Behaviors of Two Selected High School Principals with

Successful Professional-technical Program: A Case Study. Dissertation Abstract

International. 43-2583-A.

Marzano, R. J. (2000). A new era of school reform: going where the research takes us. Aurora,

Co: Mid. Continent Research for Education Learning.