กลยุทธ์การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา

Main Article Content

Nittaya Hoimook
Pha Agsornsua

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น จำนวน 370 คน โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นหรือชั้นภูมิ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน และผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า 1. ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีองค์ประกอบจำนวน 4 ด้าน 13 ตัวบ่งชี้ ซึ่งประกอบด้วย 1) ทักษะด้านการสื่อสาร จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ 2) ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ 3) ทักษะด้านวิสัยทัศน์ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ และ 4) ทักษะด้านความร่วมมือ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามีความเหมาะสมอย่างมาก 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีสภาพปัจจุบันทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ทั้งโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือทักษะด้านวิสัยทัศน์ 3. กลยุทธ์การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 21 มาตรการ 36 ตัวชี้วัด ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ด้านวิสัยทัศน์ มี 5 มาตรการ 10 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 2 ยกระดับความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสื่อสาร มี 4 มาตรการ 7 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มขีดความสามารถทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม มี 8 มาตรการ 10 ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ที่ 4 ยกระดับความสามารถในการร่วมมือกันปฏิบัติงาน มี 4 มาตรการ 9 ตัวชี้วัด

Article Details

How to Cite
Hoimook, N., & Agsornsua, P. (2019). กลยุทธ์การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 83–97. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/216879
บท
บทความวิจัย

References

ธีระ รุญเจริญ. (2554). บุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.
บุญช่วย สายราม. (2562). ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.
เข้าถึงได้จาก http://wetoknows.blogspot.com/?m=1
(วันที่สืบค้นข้อมูล :1กันยายน 2562).
ประครอง บุญครอง. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต.
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี.
กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการศึกษา.
เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์ และคณะ. (2554). การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัท
พิมพ์ดี จำกัด
วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2010). ข้อเสนอทางเลือกระบบการศึกษาที่เหมาะสมกับสุข
ภาวะคนไทย. สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
ภาพพิมพ์

วิโรจน์ สารัตนะ. (2556).กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่21.
กรุงเทพฯ : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
วิทยากร เชียงกูล. (2009). รายงานการสังเคราะห์ผลการวิจัยปฏิรูปการศึกษาของประเทศ
ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน เวียดนาม
และไทย. (เอกสารอัดสำเนา).
สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาในศตวรรษที่21.
เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/edujoumal_nu/article/view/
9391/8501. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 22 กุมภาพันธ์ 2559).
สุพรรณ ประศรี. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ
ผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556ก). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา:
ระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Lee, D. M. (2008). Essential Skills for Potential School Administrators: A Case
Study of One Saskatchewan Urban School Division. University of
Saskatchewan: Saskatoon.
NASSP. (2013). Breaking Ranks: 10 Skills for Successful School Leaders.[online].
Available From http://www.nassp.org/Content/158/BR_tenskills_exSum.pdf
[Accessed 1 April 2013].
Waston. (2000).Behavior: An introduction to comparative behavior. NewYork:
McGraw-Hill.