การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการสะท้อนคิดของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ในรายวิชาสันติศึกษาสำหรับครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมสะท้อนคิดของนักศึกษาครูต่อการจัด การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดในรายวิชาสันติศึกษาสำหรับครู 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษาครูหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการสะท้อนคิดโดยใช้การเขียนบันทึกในรายวิชาสันติศึกษาสำหรับครู และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดในรายวิชาสันติศึกษาสำหรับครู ประชากร คือนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบวัดพฤติกรรมสะท้อนคิดจำนวน 14 ข้อ ได้ค่าความตรงระหว่าง 0.80 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.87 2) บันทึกการสะท้อนคิดหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน 8 ครั้ง และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน จำนวน 26 ข้อ แบบสอบถาม ได้ค่าความตรงระหว่าง 0.80 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.89 และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (m) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมสะท้อนคิดของนักศึกษาครูโดยการจัดการเรียนการสอน ด้วยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ หลังการจัดการเรียนการสอน สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอน โดยมีคะแนนพฤติกรรมสะท้อนคิดก่อนการเรียน (m = 2.49, s = 0.68) และหลังการเรียน (m = 3.09, s = 0.71) 2) ระดับพฤติกรรมสะท้อนคิดจากบันทึกการเรียนรู้ของนักศึกษาครูแตกต่างกัน คะแนนเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสะท้อนคิดก่อนการเรียนอยู่ในระดับต่ำ (m=1.29, s = 0.60) และหลัง การเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (m= 3.12, s = 0.72) และ 3) ความคิดเห็นของนักศึกษาครู ต่อการจัดการเรียนการสอนพบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมด้านประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง (m = 3.32, s = 0.56) ด้านอุปสรรคโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ (m= 3.05, s = 0.57)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561ข). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สืบค้นจาก https://www. kroobannok.com/84974.
เชษฐา แก้วพรม. (2556). การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 24(2), 12-20.
จุฬินฑิพา นพคุณ. (2561). การสะท้อนความคิดผ่านสมุดบันทึกภาพของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยดุสิต. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(3), 307-322.
ชนิตว์ปิยา แสงเย็นพันธุ์, ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ, และปิยะพงษ์ ไสยโสภณ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการสะท้อนคิดโดยใช้การเขียนบันทึกสะท้อน.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี,13(3), 393–408.
ดวงใจ พรหมพยัคฆ์, วราภรณ์ สัตยวงศ์, จุฑามาศ รัตนอัมภา, ภาวดี เหมทานนท์, และวิไลพร รังควัต. (2562). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงร่วมกับการส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลต่อพฤติกรรมการสะท้อนคิดและความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล, วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 25(2), 57-71.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ:การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2), 188–204.
ปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว. (2562) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสะท้อนคิดของนักศึกษาครู. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 25(1), 188-205.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 56 ง, หน้า 2-6.
พรพิมล ชัยสา, และสายชล จันทร์วิจิตร. (2563). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยการส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดต่อพฤติกรรมการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล, วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(1), 224-238.
พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติการสะท้อนคิดต่อพฤติกรรมการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล,วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(39), 88-98.
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. (2558). หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู พ.ศ. 2558. นราธิวาส. เอกสารอัดสำเนา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.
รัตติกร เหมือนนาดอน, ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, เจียมใจ ศรีชัยรัตนกูล, และสันติ ยุทธยง. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด,วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2), 13 – 25.
ลำเจียก กำธร, ฐิณัฐตา ศุภศรี, และฐาปนี อัครสุวรรณกุล. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 15-27.
วารุณี สุวรวัฒนกุล, ทรงเสลา นาถจำนง, และยศพล เหลืองโสมนภา. (2559). ผลของการพัฒนาทักษะและระดับการสะท้อนคิดด้วยโปรแกรมเรียนรู้การสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 7(1), 61-71.
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2560). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเขียนบันทึกสะท้อนคิดตามแนวจิตตปัญญาศึกษาในรายวิชาศิลปะการสอน.วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 27-34
ศิริกัญญา แก่นทอง. (2561ก). การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาสันติศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาสันติศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 12-25.
ศิริกัญญา แก่นทอง. (2561ข). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5 (ฉบับพิเศษ), 120-132.
สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูด้วยกิจกรรมสะท้อนคิดโดยใช้รูปแบบ 3-R ในรายวิชาการวัดผลและประเมินผลทางคณิตศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 239-249.
สุมาลี พรหมชาติ. (2561). การสอนโดยเน้นการคิดสะท้อนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 13(25), 93-102.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส. (2563). รายงานผลการทดสอบระดับชาติปี 2559 -2561.นราธิวาส: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส.
อรัญญา บุญธรรม, โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ, ธันยาพร บัวเหลือง, เชษฐา แก้วพรม, และคมวัฒน์ รุ่งเรือง. (2558). ผลของการเขียนรายงานการสื่อสารเพื่อการบำบัดแบบบูรณาการการสะท้อนคิดต่อการพัฒนาพฤติกรรมสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 26(1), 244-255.
Ash, S. L., & Clayton, P. H. (2009). Generating, deepening, and documenting learning: the power of critical reflection in applied learning. Journal of Applied Learning in Health Education. 1(1), 25-48.
Gibbs, G. (1988). Learning by Doing: A Guide to Teaching and Learning Methods. Oxford: Oxford Further Education Unit.
Sobral, D. T. (2005). Medical students’ mindset for reflective learning: a revalidation study of the reflection-in-learning scale. Advance in Health Science Education, 10(4), 303-314.
Williams, R. M., Sundelin, G., Foster-Seargeant, E., & Norman, G. R. (2000). Assessing the reliability of grading reflective journal writing. Journal of Physical Therapy Education,14(2), 23-26.