รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการตำรวจในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา: พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

สุธาทิพย์ นววิธากาญจน์
Wichai Napapongs
Korn Sornlertlamvanich
Chidchanok Chengchao

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและสมรรถนะของข้าราชการตำรวจในสังคม พหุวัฒนธรรมกรณีศึกษา: พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ของข้าราชการตำรวจในสังคมพหุวัฒนธรรมกรณีศึกษา: พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการตำรวจในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา: พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวแทนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า และแบบประเมินรูปแบบ วิธีการจัดเก็บข้อมูล จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยนำแบบสอบถามไปแจกกับประชาชนทั่วไปโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive interview) รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการสนทนากลุ่ม (ออนไลน์) แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพและสมรรถนะของข้าราชการตำรวจฯ พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 โดยรวมระดับมาก 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการตำรวจในสังคมพหุวัฒนธรรมกรณีศึกษา: พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ ได้แก่ (1) การบริการด้วยใจ (2) สติปัญญา (3) คุณธรรมและจริยธรรม (4) ความเป็นมิตร และ (5) ทักษะภาษา และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะฯ โดยรวมเหมาะสมและภาพรวมระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74

Article Details

How to Cite
นววิธากาญจน์ ส., Napapongs, W. ., Sornlertlamvanich, K., & Chengchao, C. (2022). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการตำรวจในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา: พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 1–20. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/250045
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทัน โลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ภิชาพัชญ์ โหนา. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

นภัสนันท์ ผาสุก. (2559). สมรรถนะระดับบุคคลและระดับองค์กรที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับแบบพหุกลุ่ม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ปณิชา สาราจันทร์, และยุภาพร ยุภาศ. (2560). สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับ บัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 (หน้า 1565-1572). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิสิฐ โมกขาว. (2561). การส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บที่มี การเสริมศักยภาพทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบนบือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม, มหาสารคาม.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

มณภัสสรณ์ เสถียรบุตร. (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม อาเซียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.

เรืองศักดิ์ จริตเอก. (2549). ตำรวจเร่งพัฒนายุทธศาสตร์การบริการประชาชนเพิ่มขีด ความสามารถตำรวจพิทักษ์รักใช้ประชาชนทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้ สูตรของทาโร ยามาเนและเครจซี-มอร์แกน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1), 26-58.

สิริพงศ์ วงศ์สรรเพชญ. (2560). ความพึงพอใจต่อการบริหารงานของสถานีตำรวจดีเด่น ตาม โครงการโรงพักเพื่อประชาชน: กรณีศึกษา สถานีตำรวจภูธรตะกั่วทุ่ง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 2(2), 113-122.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). กรุงเทพฯ: เซ็นจูรี่.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ข้อมูลสถิติจากการสำมะโน/สำรวจ/รายงานสถิติ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส. จังหวัด/สำรวจพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2560, จาก http://www. nesdb.go.th.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2560, จาก http://www.nesdb.go.th.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2560, จาก http://www.nesdb.go.th

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. 2552. คู่มือสมรรถนะหลัก: คำอธิบายและตัวอย่าง พฤติกรรมบ่งชี้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

อรวรรณ สุพรรณภพ. (2560). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะเชิงวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับการ พยาบาลในอนาคต สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

อุทิศ สังขรัตน์. (2559). ทัศนคติและความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ตำรวจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์, 22(3), 27-67.

อริยา คูหา, และหริรักษ์ แก้วกับทอง. (2559). สมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาคณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.