การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนตามแบบ CCPR

Main Article Content

ไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว
อาคม อึ่งพวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนตามแบบ CCPR ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิในปี 2562 2) พัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนตามแบบ CCPR 3 ลักษณะ ประกอบด้วย ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นฐาน ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับมากขึ้นไป ความสามารถในการเขียนโครงร่างการวิจัย ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับมากขึ้นไป และความสามารถ ในการเขียนบทความวิจัย ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับมากขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ดำเนินการ เป็นครูผู้สอนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 5 โรงเรียน รวม 50 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกปฏิบัติการรวม 3 ชุด 2) แบบประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครู จำนวน 3 รายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และเกณฑ์ค่าเฉลี่ยในการแปลผล
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นฐานของครูที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพครู มีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นฐาน คิดเป็นร้อยละ 54 ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ครูมีการจัดทำ โครงร่างวิจัยก่อนทำการวิจัยคิดเป็นร้อยละ 23 และครูมีบทความวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ ร้อยละ 10 2) ครูสามารถออกแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.89, S.D. = 0.32) 3) ครูสามารถเขียนโครงร่างการวิจัยอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.91, S.D. = 0.23) และ 4) ครูสามารถเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ทางวารสารวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด (X =4.87, S.D. = 0.30)

Article Details

How to Cite
ชุ่มนาเสียว ไ., & อึ่งพวง อ. (2022). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนตามแบบ CCPR . วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 239–257. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/254034
บท
บทความวิจัย

References

ชนาธิป พรกุล. (2561). กระบวนการสร้างความรู้ของครู:กรณีการสอนบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราพร เกษสังข์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรวัติ สวัสดิ์. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโรงเรียนอุดมพัฒนาศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 (วิทยานิพนธ์ คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

วรรณดี สุทธินรากร. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชันเรียน “เพื่อสร้างความหมายใหม่ในการเรียนรู้”. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์.

วิจารย์ พานิช. (2556). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โอเดียนสแควร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

สุทธิพงษ์ เวียงพรมมา. (2559). การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านงิ้วศิริราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2562). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Breeding, R.R. (2008). Empowerment as a function of contextnal self-understanding. Rehabilitation Counseling Bulletin, 51(11), 96-106.

Likert, R. (1970). Techniqne for the measurement of attitudes. In G.F. Summer (Ed.) Attitudes measurement. New York: Rand Me Nally.

MeMiff, L. (2000). Virtual Professionalism and the Challenge For Irish Educators. Irish Educational Studies, 19(1), 139-150.