ผลการสอนโดยใช้ชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายภูผาวารี อำเภอละงู จังหวัดสตูล

Main Article Content

ปภัสรา ปาละสัน
ชุติมา ทัศโร
นงนภัสส์ มากชูชิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอน กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 1) ชุดการสอน เรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอน เรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.16/80.90 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจสำหรับชุดการสอน เรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด X= 4.86 S.D. = 0.02

Article Details

How to Cite
ปาละสัน ป. ., ทัศโร ช. ., & มากชูชิต น. . (2022). ผลการสอนโดยใช้ชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายภูผาวารี อำเภอละงู จังหวัดสตูล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 18–38. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/254562
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2546). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. ในเอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐาปะนะ วงษ์สาธิตศาสตร์. (2561). การทบทวนวรรณกรรมกับการกาหนดโครงร่างงานวิจัยด้านการสื่อสาร (วิทยานิพนธ์สื่อสารมวลชนมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

เนรมิตร โสภาพ. (2551). การพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ดิน และธาตุอาหารหลักของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

บุบผา เรืองรอง. (2556). บทความการเรียนรู้โดยการลงมือทำ(Learning by doing). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

พนมพร ค่ำคูณ. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้รูปแบบการสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2555). ตัวแปรที่นำไปสู่การเปลี่ยนของสังคม. สืบค้นจาก http://www.dhiravegin.com/ detail.php.

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สกายบุกส์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/2989

วิไลพร ศิริประยงค์. (2551). รายงานผลการใช้ชุดการสอนกิจกรรมจรวดขวดน้ำเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. ม.ป.ท.

สใบทิพย์ แสนสุนทรวิจิตร. (2551). การสร้างชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุมาลี ชัยเจริญ (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อดุลย์ คำมิตร. (2554). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนที่เน้นวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ และเทคนิคเอสคิวสามอาร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Horak, A. K. & Rachel, E.A. (2013). The Effect of Using Problem-Based Learning in Middle School Gifted Science Classes on Student Achievement and Students Perceptions of Classroom Quality. Dissertations Abstracts International. 193-A.