การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ศ. 2562 สมาชิกของ สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด ต้องเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการร่วมธุรกิจหรือใช้บริการสหกรณ์ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด 2) ศึกษาการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ส่วนบุคคลของสมาชิกกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด 4) ศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกกับการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารกับการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกของสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด จำนวน 408 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการทดสอบแบบ t-test สถิติความแปรปรวนทางเดียว (One -way ANOVA) และการทดสอบไคสแควร์วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิกอยู่ในระดับมาก สมาชิกรับรู้ข่าวสารด้านการใช้สินเชื่อ เงินฝากมากที่สุด การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของสมาชิกผ่านช่องทาง Website อยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิก ปัจจัย ส่วนบุคคลของสมาชิกต่างกันมีการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของสมาชิก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2562). สารสนเทศน่ารู้ทางการเงินสหกรณ์การเกษตร ประจําปี 2562. สืบค้นจาก https://www.cad.go.th
ใจชนก ภาคอัต. (2555). การรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในการพัฒนาคุณภาพสถาบันสู่ความเป็นเลิศ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2558). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทวีชัย คำทวี, พุฒิสรรค์ เครือคำ, และพหล ศักดิ์คะทัศน์. (2562). การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการ ดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรประตูป่า จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 36(1), 114-124.
ธิติ สิงห์คง, บุษบา สุธีธร, และอัจฉราวรรณ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2563). การเปิดรับสื่อความ ต้องการข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ภายในและความผูกพันที่มีต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Communication Arts of STOU, 9(1), 84-96.
นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2556). คิด พูด ทำประชาสัมพันธ์อย่างไรให้โดนใจผู้รับ. กรุงเทพฯ บุ๊คส์ ทู ยู.
พัทธนันท์ เด็ดแก้ว. (2552). การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศเกาหลีจากสื่อมวลชนที่มีผลต่อค่านิยมและ พฤติกรรมการบริภคสินค้าเกาหลีของประชาชนกรุงเทพมหานคร. Journal of Business, Economics and Communications, 6(1), 24-40.
พัทธ์พสุตม์ สาธุนุวัฒน์. (2563). พลังสื่อมวลชนในสื่อสังคมออนไลน์. Journal of Management Science Review, 21(2), 191-200.
สุธัญญา กฤตาคม. (2561). ความพึงพอใจการรับชมดิจิทัลทีวีหลังการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลทีวีของ ประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Roi Et Rajabhat University, 12(2), 3-12.
อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: วี. พริ้นท์(1991).
Schiffman, L., & Kanuk, L.L. (2010). Consumer Behavior. United State of America: Pearson Education, Inc.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rded.). New York: Harper and Row Publications.