ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการใช้ชุดความรู้ เรื่องหุ่นดีสุขภาพดี ในโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี เขตสุขภาพที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การบริหารจัดการ การใช้ชุดความรู้สุขภาพเรื่องหุ่นดีสุขภาพดี 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการใช้ชุดความรู้สุขภาพเรื่องหุ่นดีสุขภาพดีที่เหมาะสมกับสถานประกอบการ 3) ทดสอบประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเหมาะสมของการบริหารจัดการโครงการ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการ ประกอบด้วย สถานประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 92 คน และกลุ่มที่ 2 จำนวน 422 คน การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการใช้ชุดความรู้เรื่องหุ่นดีสุขภาพดี ที่เหมาะสมกับสถานประกอบการ นำรูปแบบการบริหารจัดการใช้ชุดความรู้เรื่องหุ่นดีสุขภาพดี ที่เหมาะสมกับสถานประกอบการในบริบทของเขตสุขภาพที่ 1 มาจัดทำคู่มือการบริหารจัดการใช้ชุดความรู้สุขภาพ Packages ที่ 1 และ 3) ทดสอบประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเหมาะสมของการบริหารจัดการโครงการ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 146 คน โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบจากกลุ่มตัวอย่าง และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 40 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการ พบว่าเครือข่ายคณะทำงานระดับเขต ระดับจังหวัด และแกนนำของสถานประกอบการมีประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผลมีการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อกับกิจกรรมส่งเสริมหุ่นดีสุขภาพดีของพนักงานในสถานประกอบการ โดยด้านประสิทธิภาพของการดำเนินงานโครงการ มีค่าเฉลี่ย 2.86 และด้านประสิทธิผลของการใช้ชุดความรู้ หุ่นดี สุขภาพดีต่อสุขภาพของพนักงาน มีค่าเฉลี่ย 2.85 2) รูปแบบการบริหารจัดการ ประกอบด้วย การพัฒนาผู้บริหารของสถานประกอบการ การสร้างและพัฒนาศักยภาพแกนนำของสถานประกอบการ เสริมสร้างพฤติกรรมของพนักงานให้มีหุ่นดี สุขภาพดี สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรม และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคีเครือข่าย 3) การทดสอบประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเหมาะสมของการบริหารจัดการ ความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการโครงการ ประกอบด้วย บทบาทและหน้าที่ของแกนนำ คุณลักษณะการทำงานแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม ปัจจัยเกื้อหนุนการดำเนินโครงการ กระบวนการการดำเนินงานโครงการด้วยการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วม การเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาสมรรถนะแกนนำ และการติดตามผล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. (2564). แนวโน้มปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2548-2558 จากการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ: BRFSS. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/document/file/info/brfss/ผลการติดตามปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยง-BRFSS.pdf.
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ระบบรายงานกลุ่มรายงานมาตรฐาน งานโภชนาการ HDC Tethered PHR. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=46522b5bd1e 06d24 a5bd81917257a93c
ดุจเดือน ปัญโยวัฒน์. (2562). กลยุทธ์การฝึกอบรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทางานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, ร้อยเอ็ด.
พนารัตน์ เจนจบ, วรรณภา ประทุมโทน, สมตระกูล ราศิริ, และพรเพ็ญ ภัทรากร. (2562). การประเมินส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชน สู่ระบบสุขภาพอำเภอ เครือข่ายพยาบาล ภาคตะวันออก ประเทศไทย. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 91-94.
พิสณุ ฟองศรี. (2551). การเขียนรายงานประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เพชรรุ่ง.
วรรณภา ประทุมโทน, พนารัตน์ เจนจบ, สมตระกูล ราศิริ, และนันทวรรณ ธีรพงศ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและสถานะสุขภาพของบุคลากร วิทยาลัยบรมราชชนนี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(พิเศษ), 96-108.
วริษฐ์ ทองจุไร. (2557). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความยึดหยุ่นเชิงกลยุทธ์ ศักยภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้ และความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลงต่อประสิทธิผลขององค์การ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
วุชธิตา คงดี. (2564) โรคปัจจุบันของกลุ่มคนวัยทำงานในโลกปัจจุบัน. สืบค้นจาก https://www.ogswa.or.th/17675458/health-promotion-for-jorpor-series-ep2
วิชัย เอกพลากร. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ศักดิ์ชาย ควรระงับ. (2562). กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวของบุคลากรของมหาวิทยาลัยพายัพ. วารสารพยาบาลสาร, 41(1), 85-95.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (เดือนมีนาคม พ.ศ.2563). สืบค้นจาก https://www.nso.go.th/sites/2014 /DocLib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/ภาวะการทำงานของประชากร/2563/Report_02-63.pdf
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือแนวทางส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อธิปพัฒน์ เดชขุนทด. (2558). อิทธิพลการจัดการในองค์การที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลบางปะอิน (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
อาภรณ์ อ่อนคง. (2565). ประสิทธิผล. สืบค้นจาก http://aporn123.blogspot.com/2013/06/blog-post _28.html
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5thed.). New York: Harper Collins Publishers.
Hoy, W.K, & Cecil G.M. (1991). Educational Administration: Theory Research and Practice. thed. New York: Harper Collins.
Ryan, T.A. and Smith, P.C. (1954). P.C. Principles of industrial Psychology. New York: The Ronald Press Company
Stufflebeam, D. L. (1983). The CIPP Model for Program Evaluation. Boston: Kluwer - Nijhoff.