แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาสถาบันการเงินชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มออมทรัพย์บ้านคลองทราย 972 บ้านคลองทรายใน ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

Main Article Content

อิสมาแอล มะสาแม
สุภามาศ เพชรรัตน์

บทคัดย่อ

DOI:  10.14456/pnuhuso.2023.1


      การวิจัยเรื่อง แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาสถาบันการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์บ้านคลองทราย 972 บ้านคลองทรายใน ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์บ้านคลองทราย 972 2) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในการพัฒนาสถาบันการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์บ้านคลองทราย 972 ทั้งนี้งานวิจัยดำเนินการร่วมกับสถาบันการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์บ้านคลองทราย 972 และธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขายะลา โดยการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัย เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ คณะกรรมการสถาบันการเงินชุมชน จำนวน 16 คน และสมาชิกสถาบันการเงินชุมชน จำนวน 100 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาเขียนบรรยายเชิงพรรณนาในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินชุมชน ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ ได้แก่ โปรแกรมบัญชีสถาบันการเงินชุมชนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุนในการจัดการข้อมูล แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ประกอบกับบุคลากรบางส่วนยังขาดความรู้และทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงพฤติกรรมความเคยชินในการใช้ระบบการทำงานด้วยมือมากกว่าการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน 2) แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาสถาบันการเงินชุมชนโดยสรุปคือ 1) ควรเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เพื่อให้จำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน 2) ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ด้วยเว็บไซต์ เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสารและกิจกรรมให้กับสมาชิกสถาบันการเงิน และ 3) ควรส่งเสริมให้คณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากรจนมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา (2559). พิมพ์เขียว Thialand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน. กรุงเทพฯ.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2539). ฐานปัญญาไทยในโลกสากล. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตสถาน กระทรวงศึกษาธิการ และศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2548). การจัดการสารสนเทศเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วิมล เอี่ยมปลัด. (2551). ระบบงานสถาบันการเงินชุมชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สถาพร แสงสุโพธิ์ และสมคิด แก้วทิพย์. (2557). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชนกรณีศึกษาสถาบันการเงินชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_ lin k.php?nid=6422

สุพัตรา วังเย็น. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี ที่ใช้สำหรับประมวลผลข้อมูลทางบัญชี กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

สุวิทย์ คุณกิติ. (2548). หลักการพัฒนากองทุนเป็นสถาบันทางการเงิน. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.

DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information systems success: A ten-year update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.

Lucas, C.H. (1997). Information Technology for Management. New York: McGraw-Hill.

Zorkoezy, P. (1984). Information Technology: An Introduction. New York: Van Nostrand Reinhold