ปารีซะ รักเกื้อ ทัศนคติและพฤติกรรมในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

Main Article Content

ปารีซะ รักเกื้อ
อาอีส๊ะ มามุ
รัฐพร ศิริพันธุ์

บทคัดย่อ

DOI : 10.14456/pnuhuso.2024.14                                                      


        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษา และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566  ซึ่งลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเกี่ยวกับภาษาจีน จำนวน 92 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิจัย ซึ่งได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.967 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย  (gif.latex?\overline{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient)


         ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.42, S.D.= 0.482) ส่วนพฤติกรรมในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.10, S.D.= 0.691) และ 2) ทัศนคติโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับพฤติกรรมในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

Article Details

How to Cite
รักเกื้อ ป. ., มามุ อ., & ศิริพันธุ์ ร. . (2024). ปารีซะ รักเกื้อ: ทัศนคติและพฤติกรรมในการเรียนภาษาจีนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 1–12. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/267329
บท
บทความวิจัย

References

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. (2566). หลักสูตร. https://libarts.pnu.ac.th/english-program/

ชูชัย สมิทธิไกร. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภค. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูผิง เป้ย. (2558). ทัศนะของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน วิทยาลัยการแพทย์ ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1), 44-55. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/657 0/6193

นริยา บุญมณีสิรีกุล. (2560). ทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

นุชจรีย์ หงษ์เหลี่ยม, นัดดา วงษ์วรรณา และพิราวรรณ หนูเสน. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิกปีการศึกษา 2559 คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 10(3), 166-173. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/106234/84142

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนวิชาภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(1), 90-99. https://www.thonburi-u.ac.th/Journal/Document/13-1/Journal13_01_8.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอุดมศึกษา. พริกหวานกราฟฟิค.

Assael, H. (1995). Consumer behavior and marketing action (5th ed.). Ohio: International Thomson Publish.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Prentice-Hall.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Test (5th ed.). Harper Collins.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). Wiley & Son.

Triandis, H. C. (2001). Attitude and attitude change. McGraw-Hill.

Weinstein, C. E. & Mayer, D.G. (1986). The teaching of learning strategies. In M.C.Wittrock (Ed.). Handbook of research on teaching (3rd ed.). Mcmilliam.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.