เปิดกล่องดำสถาบันอุดมศึกษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของกล่องดำ (Black Box) ที่มีต่อผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาไทย ผ่านปัจจัยความผูกพันของบุคลากร ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับบุคลากรสายวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาไทย 5 สถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 1,992 คน โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา จากนั้นใช้การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ลักษณะข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่งของแต่ละตัวแปร วิเคราะห์องค์ประกอบด้วยการใช้โปรแกรม AMOS เพื่อหาความเชื่อถือได้ จากนั้นใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL Program) เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของโมเดลมาตรวัดตัวแปร ผลการวิจัยพบว่าความสามารถของบุคลากร แรงจูงใจของบุคลากร โอกาสของบุคลากร มีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา และยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา โดยมีความผูกพันของบุคลากรเป็นตัวแปรคั่นกลาง ดังนั้น จึงควรจัดรูปแบบวิธีปฏิบัติด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งเสริมให้บุคลากรมีความสามารถ แรงจูงใจ โอกาส และความผูกพันของบุคลากร เมื่อบุคลากรมีผลการปฏิบัติงานสูงขึ้น ประกอบกับมีความผูกพันต่อองค์การ ผลการดำเนินงานขององค์การก็ย่อมสูงขึ้นเช่นกัน
Article Details
- เนื้อหาและข้อมูลที่ลงตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
- บทความและข้อมูล ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
กฤษณะ สุกพันธ์, อิสราภรณ์ ทนุผล, และเนตรดาว ชัยเขต. (2559). รูปแบบค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในเขตภาคตะวันออก. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 5(1), 1-14.
โชติรส ดำรงศานติ. (2554). การให้สิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินและการสื่อสารของผู้นำที่มีผลต่อความรักและพลังขับเคลื่อนองค์การของคนเก่ง. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ), สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
ทรงยศ แก้วมงคล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มะยุรี สุดตา, และธนัช กนกเทศ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการที่ดีขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา องค์การบริหาร ส่วนตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2554). แบบจำลองปัจจัยความสำเร็จการจัดการธุรกิจบริการสุขภาพของโรงพยาบาล เอกชนในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(130), 14-35.
วนิดา เหรียญจิโรจน์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สมุทรสาคร 1. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต), สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัชรพงษ์ อินทรวงศ์. (2552). กล่องดำและแนวคิดวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 159-184.
______. (2552). อิทธิพลของวิธีปฏิบัติด้านทรัพยากรมนุษย์ต่อผลการปฏิบัติงานบุคลากรสายผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต), คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วีระศักดิ์ พุทธาศรี, นุศราพร เกษสมบูรณ์, สุรศักดิ์ สุนทร, อรณัชชา เซ็นโส, ปิยะอร แดงพยนต์, และกนกวรรณ เส็งคำภา. (2554). การประเมินผล 10 ปี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2559-2560. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Allen, M. R., & Wright, P. M. (2007). Strategic Management and HRM. In Boxall, P., Purcell, P., & Wright, P. (Eds.). The Oxford Handbook of Human Resource Management. United Kingdom: Oxford University Press.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The Measurement and Antecedents of Affective, Continuance and Normative Commitment to the Organization. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.
Applebaum, E., Bailey, T., Berg, P., & Kalleberg, A. (2000). Manufacturing Advantage: Why High-Performance Work Systems Pay off. Ithaca: ILR Press.
Barney, J. B., Ketchen, D. J., & Wright, M. (2011). The Future of Resource-Based Theory: Revitalization or Decline? Journal of Management, 37(5), 1299-1315.
Belcourt, M., Bohlander, G. W., & Snell, S. (2008). Managing Human Resources. Toronto: Nelson.
Boxall, P., & Purcell, J. (2003). Strategy and Human Resource Management. Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Cheng T., & Mohd A. (2011). Human Resource Management Practices and Organizational Innovation: Assessing the Mediating Role of Knowledge Management Effectiveness. Electronic Journal of Knowledge Management, 9(2), 155-167.
Cooper, K. E. (2009). Go with the flow: Examining the Effects of Engagement Using Flow Theory and Its Relationships to Achievement and Performance in the 3-dimensional Virtual Learning Environment of Second Life. (Doctoral Dissertation). University of Central Florida, College of Education.
Federman, B. (2009). Employee Engagement: A Roadmap for Creating Profits, Optimizing Performance, and Increasing Loyalty. San Fransisco: Jossey-Bass.
Guest, D. (1997). Human Resource Management and Performance: A Review and Research Agenda. International Journal of Human Resource Management, 8, 263-276.
Hair, J. F. Jr. Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Prentice Hall.
Huselid, M. (1995). The Impact of Human Resource Management Practices on Turnover, Productivity and Corporate Financial Performance. Academy of Management Journal, 38(3), 635-672.
Institute for Management Development. (2018). IMD World Competitiveness Yearbook 2018. Lausanne: Switzerland.
Jiang, K., Lepak, D. P., Hu, J., & Baer, J. C. (2012). How Does Human Resource Management Influence Organizational Outcomes? A Meta-Analytic Investigation of Mediating Mechanisms. Academy of Management Journal, 55(6), 1264-1294.
Prieto, M. I., & Pérez-Santana, P. M. (2014). Managing Innovative Work Behavior: The Role of Human Resource Practices. Personnel Review, 43(2), 184-208.
Steers, R. M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.
Taboada, A., Tonks, S. M., Wigfield, A., & Guthrie, J. T. (2009). Effects of Motivational and Cognitive Variables on Reading Comprehension. Reading and Writing: An Interdisciplinary Journal, 22(1), 85-106.
Takeuchi, R., Lepak, D. P., Wang, H., & Takeuchi, K. (2007). An Empirical Examination of the Mechanisms Mediating between High-Performance Work Systems and the Performance of Japanese Organizations. Journal of Applied Psychology, 92(4), 1069-1083.
Wright, P., McMahan, G., & McWilliams, A. (1994). Human Resource and Sustained Competitive Advantage: A Resource-Based Perspective. International Journal of Human Resource Management, 5(2), 301-326.
Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. New York: Harper & Row.