ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: คุณภาพสังคมที่คนไทยมองเห็น

Main Article Content

Ratchawadee Sangmahamad

บทคัดย่อ

ความเหลื่อมล้ำในสังคมถือว่าเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมานานและส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจและที่สำคัญทำให้คุณภาพชีวิตถดถอยลงไปด้วย บทความนี้ได้มุ่งเน้นที่ความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาเนื่องจากเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคนแต่โอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมยังพบว่าเป็นปัญหาสำคัญ วัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อทราบถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความเหลื่อมล้ำในสังคมด้านต่างๆ เพื่อทราบปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประชาชน และเพื่อเป็นแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้น้อยลง โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ได้มาจากการสำรวจเรื่องชีวิตและสังคมโดยสถาบันพระปกเกล้า ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2558 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อแสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทาง การศึกษาด้วยสถิติไคสแควร์ และใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยเพื่อหาตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นที่มีความไม่เท่าเทียมกันมากที่สุดในสังคม คือ รายได้และทรัพย์สิน ในขณะที่ประเด็นที่ประชาชนเห็นว่าถูกเลือกปฏิบัติมากที่สุด คือ ความทุพพลภาพ รองลงมาคือ ถูกเลือกปฏิบัติเพราะระดับการศึกษา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาคือ การที่สังคมมีการเลือกปฏิบัติ มีความไม่เท่าเทียมกันในรายได้และทรัพย์สิน ความไม่พึงพอใจในการศึกษา เพศ กลุ่มอายุ และถิ่นที่อาศัย ดังนั้น การเสริมสร้างความ เท่าเทียมทางการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทไทยคือ ควรมีการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง ยกระดับคุณภาพของการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและรัฐบาลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียม

Article Details

How to Cite
Sangmahamad, R. (2017). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: คุณภาพสังคมที่คนไทยมองเห็น. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 33–36. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polscicmujournal/article/view/91310
บท
บทความวิชาการ

References

ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://goo.gl/oKzufQ.

โกวิทย์ กังสนันท์. (2559). การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการลดความเหลื่อมล้ำ. ในการประชุมวิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็น. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ไกรยส ภัทราวาท. (2559). บทเรียนสำคัญจากระดับนานาชาติ 21 ธันวาคม 2016. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://thaipublica.org/2016/12/kraiyos-pisa-2015/.

ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด. (2560). การสำรวจค่านิยมของประชาชนต่อการเมืองการปกครองและวัฒนธรรมทางสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). รายงานนโยบายการเงิน ธันวาคม 2558. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2560, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/DocLib/MPR_December2558_GTH58.pdf.

ธัญลักษณ์ สัมพันธ์. (2556). ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาส, สิทธิและโอกาสในการรับบริการสาธารณะ: การศึกษา. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2560, จาก https://sd-group1.blogspot.com/2013/01/ 5324202 5.html.

นณริฏ พิศลยบุตร. (2559). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทย: ข้อสรุปจากผลการสอบปิซ่า (PISA). จาก https://www.pier.or.th/?post_type=abridged&p=2647.

ประเวศ วะสี. (2544). นโยบายเพื่อคนจน: ล้างโครงสร้าง 10 ประการที่ประหารคนจน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อ้างถึงใน สฤณี อาชวานันทกุล. (2554). ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา: แนวคิดหลักว่าด้วยความเหลื่อมล้ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: เป็นไท พับบลิชชิ่ง.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ราชกิจจานุเบกษา. (2559). ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 28/2559). ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2560, จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/136/11.PDF.

ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์. (2559). ตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์. จาก https://sdgmove.com/.

สถาบันพระปกเกล้า. (2553). คุณภาพสังคมเพื่อคุณภาพประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

______. (2559). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะ และการทำงานของหน่วยงานต่างๆ พ.ศ. 2559 และสรุปผลการสำรวจ พ.ศ. 2546-2559. (ระหว่างดำเนินการจัดพิมพ์)

สมชัย จิตสุชน และ จิราภรณ์ แผลงประพันธ์. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาประเด็นเชิงนโยบายด้านความยากจนและการกระจายรายได้. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. นำเสนอ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2554). ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา: แนวคิดหลักว่าด้วยความเหลื่อมล้ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: เป็นไท พับบลิชชิ่ง.

สำนักงบประมาณ. (2559). งบประมาณโดยสังเขป. ฉบับปรับปรุงตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559. สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงบประมาณ. จาก https://www.bb.go.th/budget_book/e-Book
2559/FILEROOM/CABILIBRARY59/DRAWER01/GENERAL/DATA0000/00000572.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ. (2559). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ, สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม.

______. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2558). สถิติการศึกษาประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานปลัดกระทรวง, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. จาก https://www.mis.moe.go.th/MIS2015/images/content/
statistic-books/statistics2558_ 20012560.pdf.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). สรุปภาพรวมเปรียบเทียบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556-2559 จำแนกตามส่วนราชการ. รายงานวิชาการ สำนักงบประมาณของ รัฐสภา, (ฉบับที่ 3/2558). จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-ebspa/pbo-report4-2558.pdf.

______. (2559). งบประมาณด้านการศึกษา 2559. สถิติข้อมูลงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. รายงานวิชาการ สำนักงบประมาณของรัฐสภา, ฉบับที่ 3/2558. จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-ebspa /pbo-report3-2558.pdf.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2558). เปิดคู่แฝดความเหลื่อมล้ำ “คุณภาพการศึกษา-เศรษฐกิจ”. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. จาก https://www.qlf.or.th/Home/Contents/998.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2533). สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2533. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

______. (2542). รายงานความต้องการศึกษาต่อของเด็กและเยาวชน: การสำรวจทางสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

______. (2543). สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

______. (2548). ผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงประชากร ปี พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. อ้างถึงใน อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์ และปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. (2550). ความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา: เมืองและชนบท. ใน วรชัย ทองไทย และสุรีย์พร พันพึ่ง (บก.). ประชากรและสังคม. (น. 48-61). นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

______. (2558). รายงานสถิติทางสังคม ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. จาก https://service.nso.go.th/nso/web/publication/pub_soc.html.

______. (2559). คุณภาพการศึกษา...อนาคตประเทศไทย???. จาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_edu.jsp

สุภกร บัวสาย. (2558, 19 กุมภาพันธ์). ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา. จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/27501-ปัญหาเหลื่อล้ำทางการศึกษา.html.

อานันท์ชนก สกนธวัฒน์. (2558). ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ. เอกสารประกอบการบรรยาย ครั้งที่ 10. หลักสูตร Human Resource Economic, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์ และปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. (2550). ความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา: เมืองและชนบท. ใน วรชัย ทองไทย และสุรีย์พร พันพึ่ง (บก.). ประชากรและสังคม. (น. 48-61). นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

ภาษาอังกฤษ
Antoine. (2011). Inequality in Education. In The Inequality Project. Retrieved from https://inequalityproject.wordpress.com/inequality-in-education/.

Aphichat Chamratrithirong, et al. (1995). National migration survey of Thailand. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University. อ้างถึงใน อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์ และปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. (2550). ความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา: เมืองและชนบท. ใน วรชัย ทองไทย และสุรีย์พร พันพึ่ง (บก.). ประชากรและสังคม. (น. 48-61). นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

Avci, Mujdat and Ozbas, Mehmet. (2013). Perceptions of higher education students regarding the equality of opportunity and possibility in education in terms of sociological variables. Education Research, 4 (3), 264-272. Retrieved from https://www.interesjournals.org/full-articles/perceptions-of-higher-education-students-regarding-the-equality-of-opportunity-and-possibility-in-education-in-terms-of-sociological-variables.pdf?view=inline.

Beck, W., van der Masesn, L., and Walker, A. (1997). The Social Quality of Europe. The Hague: Kluwer International. อ้างถึงใน สถาบันพระปกเกล้า. (2553). คุณภาพสังคมเพื่อคุณภาพประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

¬¬¬______. (1998). The Social Quality of Europe. Bristol: Policy Press. อ้างถึงใน สถาบันพระปกเกล้า. (2553). คุณภาพสังคมเพื่อคุณภาพประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

Costanza, Hart, R.M., Posner, S., and Talberth, J. (2009). Beyond GDP: the Need for Measures of Progress. The Frederick S. Pardee Center for the Study of the Longer-Range Future, Boston University. Retrieved from https://www.oecdbetterlifeindex.org/topics/life-satisfaction/

European Commission. (2010). Gender Differences in Educational Outcomes: Study on the Measures Taken and the Current Situation in Europe. Brussels: The Education, Audiovisual and Culture Executive Agency. DOI: 10.2797/3598.

Ferdinand Mount. (2008). Five types of inequality. Retrieved from https://www.jrf.org.uk/report/five-types-inequality.

Fofack and Zeufack. (2000). Dynamics of income inequality in Thailand: evidence from household pseudo-panel data. World Bank Seminar, Washington DC. อ้างถึงใน สมชัย จิตสุชน และ จิราภรณ์ แผลงประพันธ์. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาประเด็นเชิงนโยบายด้านความยากจนและการกระจายรายได้. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. นำเสนอ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Hill, M.A. and King, E.M. (1993). Women’s education in developing countries: an overview. In E.M.Kinig and M.A. Hill. (eds), Women’s education in developing countries: Barriers, Benefits, and Politics, Baltimore, MD.: John Hopkins University Press.

Stephen Machin and Anna Vignoles. (2004). Educational inequality: the widening socio-economic gap. Fiscal Studies, 25 (2) (June), 107-128.

UNESCO. (1978). Declaration on Race and Racial Prejudice, 1978. Adopted on 27 November 1978 by the General Conference of UNESCO at its twentieth session, Paris. Retrieved from https://www.unesco.org/web
world/peace_library/UNESCO/HRIGHTS/107-116.HTM.

______. (2014). Global Education Monitoring Report. Retrieved from https://en.unesco.org/gem-report/sdg-goal-4.

UN. (1977). Human Development Report 1997. New York: United Nations Development Programme.

World Bank. (2014). Beyond Economic Growth. Retrieved from https://www.worldbank.org/depweb/beyond/global/chapter2.html.