ประสบการณ์ชีวิต เพศภาวะ เพศวิถีของผู้หญิง: การวิเคราะห์ผ่านกรณีศึกษาการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของวัยรุ่นหญิงไทยและผู้หญิงลาวที่ทำงานร้านคาราโอเกะในประเทศไทย

Main Article Content

ปณิธี บราวน์

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอประเด็นวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ว่าด้วยประสบการณ์ชีวิตของผู้หญิง ซึ่งเพศภาวะและเพศวิถีก่อตัวผ่านความสัมพันธ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นภายในสถาบันการสมรส ดังนั้นจึงมักถูกประทับตราว่าเป็น “สิ่งที่ไร้ศีลธรรม” และเป็น “ปัญหาสังคม” บทความทำการสังเคราะห์ประเด็นและอ้างอิงข้อมูลบางส่วนจากวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต 2 เรื่อง ได้แก่ กรณีศึกษาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิงไทยในวัยเรียน และกรณีศึกษาการย้ายถิ่นของผู้หญิงลาวที่มาทำงานร้านคาราโอเกะในประเทศไทย บทความนี้นำเสนอข้อสังเกตที่น่าสนใจ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก ควรตระหนักถึงบริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ที่มีส่วนหล่อหลอม
เพศภาวะและเพศวิถีของผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรทัดฐานที่ควบคุมเรื่องเพศและระบบชายเป็นใหญ่ซึ่งมีบทบาทในการนิยามว่าพฤติกรรมของผู้หญิงเหล่านั้นเป็น “ความเบี่ยงเบน”และเป็น “ปัญหาสังคม” ประการที่สอง บทความพิจารณาถึงนัยสำคัญของ “ความเป็นผู้กระทำการ” และการแสวงหากลยุทธ์ในการเอาตัวรอดของผู้หญิงในการต่อรองกับข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประการสุดท้าย แม้ว่าเครือข่ายทางสังคมจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งสนับสนุนด้านต่างๆ ให้กับผู้หญิง แต่บทบาทในเชิงให้การสนับสนุนของเครือข่ายทางสังคมก็ไม่ควรถูกกล่าวเกินจริง ในบางครั้งเครือข่ายทางสังคมก็มีลักษณะของความไม่ต่อเนื่องและอาจมีความขัดแย้งระหว่างผู้กระทำในเครือข่ายได้เช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤตยา อาชวนิจกุล, และพริศรา แซ่ก้วย. (2551). ฤา ปฏิบัติการของสังคมไทยในกระแสจารีตเรื่องเพศจะอ่อนกำลังลง?. ใน ธวัชชัย พาชื่น, และพิมพวัลย์ บุญมงคล (บก.). เพศวิถีศึกษาในสังคมไทย วิพากษ์องค์ความรู้และธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องเพศวิถีในสังคมไทย (น. 57-72). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญดีการพิมพ์.

กฤตยา อาชวนิจกุล. (2554). เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย. ใน สุรีย์พร พันพึ่ง, และมาลี สันภูวรรณ์ (บก.). จุดเปลี่ยนประชากร จุดเปลี่ยนสังคมไทย (น. 44-66). นครปฐม: ประชากรและสังคม.

จามะรี เชียงทอง, และสุนทร สุขสราญจิต. (2555). มิแช็ล ฟูโกต์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2551). ประวัติศาสตร์เพศวิถี: ประวัติศาสตร์เรื่องเพศ/เรื่องเพศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง.

ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ. (2560). แนวคิดสตรีนิยมและขบวนการทางสังคมของผู้หญิงในประเทศไทย: วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อถกเถียงและยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริช เอแบร์ท.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (ม.ป.ป.). ทบทวนวิธีการสร้างความรู้/ความจริงเรื่องเพศ. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563, จาก www.sac.or.th/databases/anthropology-oncepts/articles/2

นิภา จิรภัทร์. (2540). การควบคุมเรื่องเพศในผู้หญิงไทยปัจจุบัน: กรณีศึกษาการควบคุมเรื่องเพศในวัยรุ่น. (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต), สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณพร ปันทะเลิศ. (2556). ผู้หญิงลาวที่ทำงานร้านคาราโอเกะในประเทศไทย: การย้ายถิ่นและการใช้ชีวิตข้ามพรมแดน. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต), สาขาวิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราภรณ์ แช่มสนิท. (2551). ภูมิทัศน์ของเพศวิถีศึกษาในฐานะกระบวนการต่อสู้ทางความรู้. ใน ธวัชชัย พาชื่น, และพิมพ์วัลย์ บุญมงคล (บก.). เพศวิถีศึกษาในสังคมไทย วิพากษ์องค์ความรู้และธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องเพศวิถีศึกษาในสังคมไทย (น. 13-27). กรุงเทพฯ: เจริญดีการพิมพ์.

วาทินีย์ วิชัยยา. (2556). “แม่วัยรุ่น”: ประสบการณ์ชีวิต เพศภาวะ และเพศวิถี. (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต), สาขาวิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์ (2545). สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

สุกฤตยา จักรปิง. (2558). วิกฤติการณ์ข้าวแห่งเอเชีย ค.ศ. 2008: ผู้หญิงความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนา. สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 11(2), 93-130.

สุชาดา ทวีสิทธิ์. (2550). ผู้หญิง ผู้ชาย และเพศวิถี: เพศภาวะศึกษาในงานมานุษยวิทยา. สังคมศาสตร์, 19(1), 311-357.

Agustin, L. M. (2006). The Conundrum of Women’s Agency: Migration and the Sex Industry. In O’ Neill, M., & Campbell, R. (Eds). Sex Work Now (pp.116-140). Cullompton: Willan Publishing.

Archbold, C. (2012). Research on Women in Policing: A Look at the Past, Present and Future. Sociology Compass, 6(9), 694–706.

Attwood, F., Jamie H., & Alison W. (2017). Mediated Intimacies: Bodies, Technologies and Relationships. Journal of Gender Studies, 26(3), 249-253.

Banks, O. (1999). Some Reflections on Gender, Sociology and Women’s History. Women’s History Review, 8(3), 401-410.

Basargekar, P. (2010). Measuring Effectiveness of Social Capital in Microfinance: A Case Study of Urban Microfinance Programme in India. International Journal of Social Inquiry, 3(2), 25-43.

Boris, E., & Parrenas, R. S. (2010). Introduction. In Boris, E. & Parrenas, R. S. (Eds). Intimate Labors: Culture, Technologies and the Politics of Care (pp. 1-12). California: Stanford University Press.

Broadbridge, A. (2010). Social Capital, Gender and Careers: Evidence from Retail Senior Managers. Equality, Diversity and Inclusion: An International Journal, 29(8), 815-834.

Curra, S. R., Garip, F., Chun, C. Y., & Tangchonlatip, K. (2005). Gendered Migrant Social Capital: Evidence from Thailand. Social Forces, 84(1), 225-255.

Garton, S. (2004). Histories of Sexuality. New York: Routledge.

Honkatukia, P., & Keskinen, S. (2018). The Social Control of Young Women’s Clothing and Bodies: A Perspective of Differences on Racialization and Sexualization. Ethnicities, 18(1), 142-161.

Katz, N., Lazer, D., Arrow, H., & Contractor, N. (2004). Network Theory and Small Groups. Small Group Research, 35(3), 307-332.

Komarovsk, M. (1991). Some Reflections on the Feminist Scholarship in Sociology. Annual Review of Sociology, 17(1), 1-25.

Kovacheva, S. (2004). The Role of Family Social Capital in Young People’s Transition from School to Work in Bulgaria. Sociologija, 46(3), 211-226.

Maclean, K. (2010). Capitalizing on Women’s Social Capital? Women-Targeted Microfinance in Bolivia. Development and Change, 41(3), 495-515.

Maguire, D. (2016). The Influence of Online Social Capital on Women's Career Change Advancing. Advancing Women in Leadership, 36, 64-72.

Miriam, K. (2005). Stopping the Traffic in Women: Power, Agency and Abolition in Feminist Debates over Sex-trafficking. Journal of Social Philosophy, 36(1), 1-17.

Nader, L. (1986). The Subordination of Women in Comparative Perspective. Urban Anthropology and Studies of Cultural Systems and World Economic Development, 15(3), 377-397.

Ngum Chi Watts, M. C., Liamputtong, P., & Mcmichael, C. (2015). Early Motherhood: A Qualitative Study Exploring the Experiences of African Australian Teenage Mothers in Greater Melbourne, Australia. BMC Public Health, 15(1), 1-11. Retrieved August 10, 2019, from DOI 10.1186/s12889-015-2215-2.

O’ Connell Davison, J. (2010). New Slavery, Old Binaries: Human Trafficking and the Borders of ‘Freedom’. Global Networks, 10(2), 244-261.

Oakley, A. (1972). Sex, Gender and Society. London: Temple Smith.

Parker, R. (2009). Sexuality, Culture and Society: Shifting Paradigms in Sexuality Research. Culture, Health & Sexuality, 11(3), 251–266.

Pham, T., & Talavera, O. (2017). Discrimination, Social Capital, and Financial Constraints: The Case of Viet Nam (WIDER Working Paper, No. 2017/67). Helsinki: United Nations University (UNU), World Institute for Development Economics Research (WIDER).

Prandini, R. (2014). Family Relations as Social Capital. Journal of Comparative Family Studies, 45(2), 221-234.

Reinharz, S. (1992). Feminist Methods in Social Research. Oxford: Oxford University Press.

Sullivan, B. (2003). Trafficking in Women. International Feminist Journal of Politics, 5(1), 67-91.

Weeks, J. (1981). Sex, Politics and Society. London: Longman.

Yeates, N. (2005). Global Migration Perspective. Retrieved on August 10, 2019, from https://www.refworld.org/pdfid/435f85a84.pdf

Yeoh, B. S.A., Chee, H. L., & Vu, T. K. D. (2014). Global Householding and the Negotiation of Intimate Labour in Commercially-matched International Marriage between Vietnamese Women and Singaporean Men. Geoforum, 51, 284-293.

Young, S. (2011). Gender, Policing and Social Control: Examining Police Officers’ Perceptions of and Responses to Young Women Depicted as Violent. (Doctoral dissertation), University of Stirling.