ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนไปปฏิบัติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ดวงนภา สุวรรณ
จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัจจัย และปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการนำนโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ ระดับความสำเร็จของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติของ อปท. ในสมุทรปราการ และสมการพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติของ อปท. ในสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของ อปท. ในสมุทรปราการ 384 คน จาก 9,518 คน โดยใช้แบบสอบถาม ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย 2) ทรัพยากรนโยบาย 3) การสื่อสารระหว่างองค์กรและกิจกรรมการเสริมแรง 4) ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ 5) เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และ 6) ความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ เก็บข้อมูล โดยส่งแบบสอบถามทางออนไลน์ ทางไปรษณีย์ และนำไปสอบถามเอง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ข้อค้นพบในการศึกษา คือ ระดับของปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติ ด้านวัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย มีค่ามากที่สุด ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติ มี 4 ปัจจัยจาก 6 ด้าน ได้แก่ ความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ด้านสังคมและการเมือง วัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย และทรัพยากรนโยบาย ระดับความสำเร็จของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติ ประชาชนส่วนใหญ่มีความตระหนักในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฯ มีค่ามากที่สุด สมการพยากรณ์ คือ Y ความสำเร็จของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติ = -0.041 + 0.222(X1) + 0.177(X2) + 0.252(X3) + 0.346(X4) โดยปัจจัยด้านความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ (X4) มีค่า β สูงสุด ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติ มากที่สุด ปัญหาของการนํานโยบายฯ ไปปฏิบัติที่สำคัญที่สุด คือ วัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย มาตรการที่สำคัญที่สุด คือ มาตรการที่ 2 ป้องกัน และลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด)

Article Details

How to Cite
สุวรรณ ด. ., & เมธาสุทธิรัตน์ จ. . (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนไปปฏิบัติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 15(2), 217–250. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polscicmujournal/article/view/273361
บท
บทความวิจัย

References

Drama-addict. (2566). เพจ Drama-addict. Facebook. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/DramaAdd

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/06/pcdnew-2020-06-05_02-34-12_147817.pdf

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/02/pcdnew-2021-02-18_08-03-46_086635.pdf

กรมควบคุมมลพิษ. (2566ก). ข่าว คพ. ศกพ ติดตามคุณภาพอากาศ. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566, จาก https://www.pcd.go.th/pcd_news/28561

กรมควบคุมมลพิษ. (2566ข). รายชื่อสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติ ปี 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567, จาก https://pcd.gdcatalog.go.th/dataset/pm10/resource/3573cd3e-a54d-4e1f-8b06-4cc0223077d8

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ. (2566). แผนเผชิญเหตุการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ขนาดเล็ก (PM2.5) จังหวัดสมุทรปราการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ซีดีรอม). จังหวัดสมุทรปราการ.

คณะผู้เข้ารับการฝึกอบรม โครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้บริหารส่วนราชการ (นบส. 2) รุ่นที่ 11. (2562). ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566, จาก https://www.ocsc.go.th/wp-content/uploads/2024/04/นบส.-2-รุ่นที่-11_2562-รายงานวิชาการ.pdf

ผุสดี บุญมีรอด. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำนโยบายในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

พิชญ์พงศ์ เทิดรัตนพงศ์. (2564). การนำนโยบายจัดการฝุ่นละออง PM2.5 ไปปฏิบัติในพื้นที่ ตำบลปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรเดช จันทรศร. (2556). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). การปกครองส่วนท้องถิ่นและอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ. (2566). ทะเบียนประวัติ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.samutprakanlocal.go.th/public/board/data/index/menu/86

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. (2566). รายงานประจำปี Annual Report 2566. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566, จาก https://spko.moph.go.th/wp-content/uploads/2018/09/รายงานประจำปี-2566.pdf

สู้ดิวะ. (2566). “ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเผ่าป่า จะไปตังไดก่อแสบต๋า บ่ไหวละก้า นครพิงค์” [Status update]. Facebook. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/ktlivethelife/posts/149998874597606?ref=embed_post

Brook, R., et al. (2010). Particulate Matter Air Pollution and Cardiovascular Disease an Update to the Scientific Statement from the American Heart Association. Circulation, 121(21), 2331-2378.

Dunn, W. N. (1994). Public Policy Analysis: An Introduction (2nd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Dye, T. R. (1981). Understanding Public Policy (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice – Hall.

Edwards III, G. C. (1980). Implementing Public Policy (Politics and Public Policy Series). New York: Congressional Quarterly Press.

Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, 6(4), 445-488.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.