ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อปัญหาการจราจรในจังหวัดปทุมธานี และปริมณฑล

Authors

  • ธนพัฒน์ เกิดผล นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • รองศาสตราจารย์ ดร.นิเทศ ตินณะกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

Keywords:

ปัญหาการจราจร, การจราจรในเมือง

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและสาเหตุปัญหาการจราจร 2) ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อปัญหาการจราจรและการจัดการแก้ไขปัญหาการจราจร และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติของประชาชนที่มีต่อปัญหาการจราจรในจังหวัดปทุมธานีและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในจังหวัดปทุมธานีและปริมณฑล จ านวน 400 คน ตัวแทนภาค ประชาชน จำนวน 10 คน และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการจราจร ในจังหวัดปทุมธานีและปริมณฑล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม และแบบ สัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบค่าเอฟ ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ ความถดถอยพหุคูณตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า การจราจรติดขัดอย่างมากในช่วงเวลาเร่งด่วน (เช้าและเย็น) แต่สามารถเคลื่อนตัวได้ สาเหตุของปัญหาการจราจร ได้แก่ การเติบโตของเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากร การวางแผนการจราจรไม่สัมพันธ์กับการเติบโตของพื้นที่ ถนนมีน้อยกว่าปริมาณรถ คนขับรถไม่ชำนาญเส้นทาง รถโดยสารประจำทางมีน้อยและบริการไม่ดี สัญญาณไฟจราจรเสีย เจ้าหน้าที่ ตำรวจมีน้อย ประชาชนนิยมใช้รถยนต์ส่วนตัว ผู้ใช้รถใช้ถนนขาดจิตสำนึกต่อระเบียบวินัย การจราจรชอบฝุาฝืนกฎจราจร ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อปัญหาการจราจรในจังหวัดปทุมธานีและปริมณฑล ระดับ ปานกลาง ประชาชนที่มีปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และสถานภาพสมรส มีทัศนคติต่อปัญหาการจราจร ไม่แตกต่างกัน และ ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีทัศนคติต่อปัญหาการจราจรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และ .05 ประชาชนมีทัศนคติต่อการจัดการแก้ไขปัญหาการจราจร อยู่ในระดับมาก โดยประชาชน ที่มีปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และสถานภาพ สมรส ต่างกัน มีทัศนคติต่อการจัดการแก้ไขปัญหาการจราจรในจังหวัดปทุมธานีและปริมณฑล ภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ประชาชนที่มีเพศต่างกันมีทัศนคติต่อการจัดการแก้ไขปัญหา การจราจรในจังหวัดปทุมธานีและปริมณฑล แตกต่างกันในด้านการให้ความรู้กับประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การจัดการแก้ไขปัญหาการจราจรมีความสัมพันธ์กับปัญหา การจราจรในจังหวัดปทุมธานี และปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านการวาง แผนการจัดการจราจร และด้านการให้ความรู้กับประชาชน สามารถทำนายทัศนคติของประชาชน ที่มีต่อปัญหาการจราจรในจังหวัดปทุมธานีและปริมณฑล ได้ร้อยละ 5.30 การแก้ไขปัญหา การจราจร ได้แก่ การวางแผนร่วมกันระหว่างตำรวจจราจรและหน่วยงานส่วนท้องถิ่นจัดบุคลากรด้านการจราจรให้เพียงพอ ปรับทัศนคติให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเคารพกฎจราจร นำระบบ การจราจรอัจฉริยะมาใช้อบรมให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายจราจร สร้างถนนสำหรับคนเดินเท้าและรถจักรยาน พัฒนาระบบขนส่งมวลชนและบริการ เหลื่อมเวลาการทำงาน ลดภาษี สำหรับนายจ้างที่จัดรถยนต์โดยสารให้พนักงาน

References

1. แนวทางการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุการจราจรทางบก. (2556). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2559 เข้าถึงได้จาก : http://btanasak.blogspot.com/
2. ปริญญา ปฏิพันธกานต์. (2550). ความต้องการระบบขนส่งมวลชนสำหรับเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
3. วิทยากร เชียงกูล. (2540). ปฏิรูปการเมือง. กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร.
4. สุรชัย สีมุเทศ. (2551). แนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนสายหลักในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของกองบังคับการตำรวจนครบาล 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
5. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร. (2553). รายงานแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรเฉพาะหน้าและการจัดระบบการจราจรในระยะสั้นเร่งด่วน. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
6. อนุสรณ์ พัฒนถาบุตร. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานตำรวจจราจรตำรวจภูธรภาค 4. ขอนแก่น : คลัง นานาวิทยา.

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

เกิดผล ธ., & ตินณะกุล ร. ด. (2018). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อปัญหาการจราจรในจังหวัดปทุมธานี และปริมณฑล. Pathumthani University Academic Journal, 10(1), 229–236. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/181555